BootMGR is missing windows7

  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้ผมขอแทรกบทความเป็นทางด้านระบบปฏิบัติการสักเรื่องนะครับ เรื่องมันมีอยู่เกิดขึ้นเพราะว่าเครื่องคอมของเราเองที่ลงวินโดว์7 ไว้ เกิด บูตไม่เข้าและขึ้นตัวหนังสือ”ว่า BOOTMGR is missing”ตรงนี้แหละครับที่ต้องขอแทรกความรู้นี้เข้ามาเพื่อสมาชิกบางท่านที่กำลังเจอกับปัญหานี้พอดี  จะได้ทำการแก้ปัญหาเหล่านี้โดยไม่ต้องลงวินโดว์กันใหม่ครับ

Continue reading

ซ่อมโน๊ตบุ๊ค เห็นภาพลาง ตอนที่ 2 (การตรวจเช็ค Inverter)

  • สวัสดีกันอีกครั้งครับเพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน  สำหรับ คำแนะนำการซ่อมในอาการเสีย ที่โน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเรา เปิดติดมีภาพ แต่ภาพมันเห็นเป็นลางๆ  ดำๆ  (แต่มีภาพแล้วครับ) ซึ่งเราต่อออกจากจอมอนิเตอร์ภายนอกทาง Port DB-15 ได้ภาพตามปรกติ  เพียงแต่ในจอโน๊ตบุ๊คของเรามันมืดไปนั่นเองครับ   ในลักษณะนี้ผมได้กล่าวไว้ในบทความก่อนหน้านี้ถึงแนวทางความเป็นไปได้ต่างๆ แล้วนะครับ  แต่ในครั้งนี้ เราจะมาพูดถึงวิธีการวิเคราะห์อาการเสียนี้  โดยการเข้าไปตรวจซ่อมอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งก็คือ Inverter กันครับ

รูป Conneter ด้านทางเข้าบนตัว Inverter

คลิ๊ก ที่นี่เพื่อ Free !!! download 1GB. วงจรเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค Notebook Schematic Download(แท้ๆ1000 เมกกะไบต์)หลายยี่ห้อ หลายรุ่น ครอบคลุมงานซ่อมโน๊ตบุ๊ค โหลดก่อนได้ก่อน

คลิ๊กที่นี่เพื่อ ดาวน์โหลดวงจรเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค (1000 เมกกะไบต์)

ไปดูเป็นแนวทางกันหรือยังครับเพื่อนๆที่รักทุกท่าน รายการวงจร อยู่ทางกรอบด้านขวาของทางหน้าเว๊ป  หรือจะคลิ๊กที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ก็ได้นะครับ

Free  (Notebook  Schematic  download  )

Thank you

www.lqv77.com เวียดนาม ที่นำมาเผยแพร่นะครับ

 

ขออภัยครับ ตอนนี้กำลังปรับปรุงหน้าเว๊ป ของวงจรนี้อยู่ 18/08/2555

admin

 

Continue reading

ซ่อมโน๊ตบุ๊ค อาการเปิดไม่ติด เปิดไม่ได้ (ตอนที่1) ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกท่าน  สำหรับในวันนี้  ผมได้นำความรู้เกี่ยวกับการตรวจซ่อมคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค Notebook มาเล่าสู่กันฟังกันต่อนะครับ

อาการ ที่ว่านี้ก็คือ ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง

การสังเกตุ จากไฟสแตนบาย (Stand by) ถ้าติดอยู่ในขณะที่เสียบอะแดปเตอร์ แสดงว่าไฟจ่ายแล้ว

  • ในเครื่องที่มีไฟสถานะ Standby อยู่ ก็จะไม่มีสถานะไฟติดให้เห็นนะครับ
  • และสำหรับเครื่องที่ไม่มีไฟ Standby ก็จะยิ่งไม่ทราบใหญ่

การสังเกตุ จากไฟชาร์จแบตเตอรี่ ถ้าติด แสดงว่า ไฟจากอะแดปเตอร์จ่ายแล้ว

  • ถ้าเพื่อนๆได้เสียบแบตเตอรีเข้าเครื่องไว้  โดยไม่ได้เสียบไฟจากอะแดปเตอร์ ก็จะไม่เห็นสถานการทำงานของการชาร์จเกิดขึ้นครับ  จนกว่าจะมีการเสียบไฟจากอะแดปเตอร์เข้าไปยังตัวโน๊ตบุ๊ค  ไฟสถานะชาร์จก็จะติดสว่างขึ้น  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็จะได้ทราบว่า ไฟจ่ายเข้าเครื่องแล้วนั่นเองครับ

การสังเกตุ จากไฟสถานะของอะแดปเตอร์ ถ้ากระพริบ ก็แสดงว่า โหลด(load)ของวงจรมีการดึงกระแสไฟลงกราวด์แบบเต็มๆนะครับ หรืออาจเรียกได้ว่า วงจรช้อตนั่นเอง

  • ตามปรกติไฟสถานะของอะแดปเตอร์(หากมี) จะติดสว่างนิ่งอยู่  แต่ถ้าเห็นว่ามีการกระพริบเกิดขึ้นในขณะที่เราได้เสียบขั้ว DC Jack เข้าสู่โน๊ตบุ๊ค  นั่นย่อมทำให้เราได้ทราบว่า มีการช้อตไฟจากแหล่งจ่ายลงกราด์ทั้งหมด  ทำให้ไฟไม่สามารถไปเลี้ยงยังส่วนวงจรต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ครับ  เราก็ต้องหาตัวช้อตในวงจรให้เจอ และยกออก เปลี่ยนใหม่ ก็จะกลับสู่สภาพเดิมครับ  เพียงแต่ว่า เราจะเจอตัวเสียตรงไหนหละครับ

วิธีการตรวจซ่อมอาการไฟไม่จ่ายเข้าเครื่องกันครับ

กาตรวจเช็คกรณีที่ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง แต่ไฟสถานะของอะแดปเตอร์กระพริบ

  • เราทราบดีแล้วจากบทความที่ได้กล่าวๆกันไว้  ว่ากรณีที่ไฟสถานะของอะแดปเตอร์กระพริบนั้น  ส่วนใหญ่จะเกิดจากไฟจากแหล่งจ่ายช้อตลงกราวด์ของวงจร  ไฟจากแหล่งจ่ายก็คือไฟจากอะแดปเตอร์นั่นเอง  กรณีนี้  จะว่าง่ายก็ได้  จะว่ายากก็ได้ เพราะถ้าไม่เจอตัวช้อตตรงๆตามที่เราตรวจเห็น  ก็จะทำให้เราหามันไม่เจอ  ซึ่งยากแก่การซ่อมมากๆครับ

จุดในการตรวจสอบเบื้องต้น

  • กลุ่มของ C อิเล็คโตรไลท์ ในส่วน Filter ไฟแหล่งจ่ายหลัก ซึ่งเพื่อนๆจะมองหาได้ง่ายๆ ก็อยู่แถวด้านหลังของ DC Jack ประมาณนั้นใน  ซึ่งตรงนี้ผมคงได้เพียงแต่พูดได้ประมาณนี้  เพราะในแต่ละรุ่นนั้น ก็จะมีการวางวงจรไว้แตกต่างกัน  แต่ในหลักการออกแบบวงจร ก็จะคล้ายๆ กัน ก็คือ ต้องมีกลุ่ม C Filter อย่างแน่นอนครับ  ไม่ว่าจะเป็น C ตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก SMD ก็ต้องตั้งมิเตอร์  RX1 วัดสลับขั้วสาย  และถ้าจะให้ดูชัดเจนขึ้น เมื่อพบว่าตัวใด วัดแล้วเข็มมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลทั้งสองครั้งในการวัด  ก็ให้เพื่อนๆ ทำการถอด หรือลอยขาของชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นนั้นครับ  แล้ว  เอาสายมิเตอร์วัดที่จุดบัดกรีบนเมนบอร์ดว่า เข็มมิเตอร์ยังตีสุดสเกลทั้งสองครั้งอยู่อีกหรือเปล่า  ถ้าไม่แล้ว  ก็ให้เพื่อนๆ วัดที่ตัวอุปกรณ์ที่ถอดลอยไว้ ว่าเข็มมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลหรือไม่  ถ้าขึ้นทั้งสองครั้งก็แสดงว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นช้อตแน่นอน (ถ้าเป็น C ,D,Tr,MosFet) แต่ก้าการวัดที่จุดบัดกรีบนเมนบอร์ดยั้งทำให้เข็มของมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลอยู่เหมือนเดิม  เพื่อนๆ ก็ต้องวัดหาตัวเสีย ช้อต กันต่อไปให้เจอนะครับ   (อันนี้เป็นวิธีการแบบแรก)

อ่านต่อการซ่อม ตอนที่สอง คลิ๊กที่นี่ครับ

การสังเกตุ จากไฟสถานะของอะแดปเตอร์ ถ้ากระพริบ ก็แสดงว่า โหลดของวงจรมีการดึงกระแสไฟลงกราวด์แบบเต็มๆ

ซ่อมโน๊ตบุ๊ค อาการเปิดไม่ติด เปิดไม่ได้ (ตอนที่2) กดปุ่ม Power On แล้วไม่ทำงาน

  • สวัสดีครับเพื่อนๆที่รักทุกท่าน  คงต้องขอกล่าวขอโทษเพื่อนๆไว้ ณ ที่นี้นะครับที่ช่วงเดือนสองเดือนนี้ไม่ค่อยได้มีบทความใหม่ๆเข้ามาให้เพื่อนๆรับทราบกันเป็นความรู้เลย  ด้วยเหตุที่ผมต้องทำงานในหลายๆหน้าที่ รวมถึงงานในร้านซ่อม ก็มากขึ้นเป็นลำดับ  แต่ก็ไม่ลืมหรอกครับที่จะคอยนำความรู้ที่พอจะแนะนำให้เป็นแนวทางมานำเสนอต่อเพื่อนๆกันอย่างต่อเนื่องครับ
  • สำหรับในวันนี้ ผมจะพาเพื่อนๆ ทุกท่านเข้ามารับรู้ถึงสเต็ปขั้นตอนในการวิเคราะห์อาการเสีย ต่อจาก ตอนที่ 1 และการนำไปสู่การตรวจเช็คในส่วนวงจรกันในระดับหนึ่ง  ซึ่งต้องถือว่ามีหลากหลายวิธีที่จะใช้  แต่ก็จะพูดไปทั้งหมดก็ยังคงไม่สะดวก  เลยขอแบ่่งเป็นตอนๆ เพื่อให้เพื่อนๆลองปฏิบัติตามและหาวิธีแก้ไขปัญหา  อาจทำให้ประสบความสำเร็จในงานซ่อม และเป็นแนวทางได้นะครับ
  • อาการที่ผมนำมากล่าวในครั้งนี้ ก็คงจะต่อเนื่องกับอาการนี้ที่ได้พูดไว้ใน(ตอนที่1) ซึ่งต้องถือว่าเป็นแบบผู้ใช้ทั่วๆไปที่จะดูแล และแก้ไขได้ด้วยตนเองครับ  แต่สำหรับในวันนี้ (ตอนที่2) ผมได้หมายถึงวิธีการที่เพื่อนๆ ที่ชอบถอดตัวเครื่องออกมาแล้ว (เอาเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คออกมาแล้ว)  และเราก็จะเริ่มต้นการตรวจเช็คกันเลยนะครับ

อาการไฟจ่ายแต่ไม่ขึ้นภาพ (ตรวจเช็คในส่วนเมนบอร์ด)

ขั้นตอนปฏิบัติ

  • นำแผงเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คที่เราแกะออกจากตัวเครื่องแล้ว  ออกมาหาที่วางนุ่มๆ  อาทิเช่นฟองน้ำ หนาๆ
  • ติดตั้ง CPU,RAM และแผงควบคุมการสั่งเปิดปิดเครื่องลงไป
  • เชื่อมต่อสายสัญญาณ DB-15 จากจอภาพภายนอก (เช่น จอ CRT หรือ LCD ที่ใช้กับเครื่องแบบตั้งโต๊ะ

นอกจากจากที่ได้กล่าวถึงนี้นะครับ เพื่อนๆ ไม่ควรจะเสียบอุปกรณ์ใดเข้าไปยุ่งเกี่ยวเพิ่มเติมอีก เช่น HardDisk,DVD-RW ,Battery,Keyboard,Touch Pad และอื่นๆ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้มีผลทำให้เกิดภาพแต่ประการใดครับ

  • เมื่อปฏิบัติตามสามข้อข้างต้นแล้ก็ขอให้เพื่อนๆทำการเสียบขั้วไฟจาก Adaptor สำหรับโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้นๆนะครับ จากนั้นกดปุ่มสวิชท์ Power On ตอนนี้ไฟก็จะจ่ายเข้าเครื่องตามปรกติ  พัดลมของ CPU อาจจะหมุน  หรือยังไม่หมุน  หรือหมุนสักพักแล้วหยุดลง  อันนี้ก็แล้วแต่โน๊ตบุ๊คในแต่ละยี่ห้อ และแต่ละรุ่นนะครับ

รอประมาณ 10 วินาที เพื่อดูว่าได้ภาพหรือไม่

  • ตาคอยสังเกตุภาพที่จอที่เราต่อพ่วงไว้ หรืิออาจจะลุ้น โดยการดูที่ไฟสถานะของจอภาพ (ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีภาพนั้นจะเป็นอีกสีนึง เช่น อาจเป็นน้ำเงิน หรือส้ม ซึ่งอาจกระพริบอยู่ก็ได้นะครับ  แต่เมื่อมีภาพก็จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว นิ่ง

ปรากฏว่าก็ยังไม่ได้ภาพอีกเหมือนเดิม จะทำยังไงกันต่อดี…

ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ในโน๊ตบุ๊ค (Capacitor)

  • สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในเดือนสิงหาคมนี้ ผมพยายามจะเขียนบทความเกี่ยวชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค เพื่อเพื่อนๆ จะได้รู้จักและทราบวิธีการตรวจวัด หรือแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องนะครับ

ตัวเก็บประจุทางไฟฟ้า

  • ตัวเก็บประจุทางไฟฟ้า หรือ คาปาซิเตอร์ (Capacitor) หรือ คอนเดนเซอร์ (Condenser) แต่มักจะถูกเรียกแบบสั้นๆ ว่า ซี (C) เป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบกันมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า (Charge) และคายประจุไฟฟ้า (Discharge) ถ้าเป็นทางระบบไฟฟ้าแล้วละก้อ ตัวเก็บประจุจะทำหน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าเรียบ ไม่มี Ribble ไปรบกวนในวงจรทางไฟฟ้า? ทำให้วงจรทางไฟฟ้ามีความเสถียรในการทำงานอย่างมากนะครับ

โครงสร้างของตัวเก็บประจุ

  • ตัวเก็บประจุ มีคุณสมบัติทางประจุไฟฟ้า เกิดขึ้นได้จากการนำแผ่นโลหะ หรือ แผ่นสารตัวนำสองแผ่นวางอยู่ใกล้ ๆ กันแต่ไม่แตะถึงกัน โดยมีแผ่นไดอิเล็กตริกซึ่งมีลักษณะเป็นฉนวนกั้นอยู่ระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง ค่าความจุที่ได้จะขึ้นอยู่กับ พื้นที่ของแผ่นตัวนำและ ระยะห่างระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง
  • ค่าความจุของตัวเก็บประจุ มีหน่วยเรียกเป็น ฟารัด (Farad) ไมโครฟารัด (m F) นาโนฟารัด (nF) ฟิกโกฟารัด (pF)

 

Continue reading

SPI Flash ROM ที่เครื่องFlash PCB50 สามารถเขียนได้

เบอร์ของ SPI Flash ROM ที่มีใช้ๆกัน ในทุกๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ รวมถึงโน๊ตบุ๊ค tablet ,Desktop PC , Mobile

SPI FLASH

————————————————————————————————————
Macronix (MxIC)
MX25L512, MX25L5121E, MX25L512C, MX25V512, MX25L512C

MX25L1005, MX25L1005C, MX25L1021E, MX25L1025C,MX25L2005
MX25L2006E, MX25L2026C, MX25L2026E, MX25L4005A
MX25L4006E, MX25L4026E, MX25U4035(1.8V), MX25V4005(2.5V)
MX25V4005C(2.5V), MX25L4035(2.5V)

MX25L8006E, MX25L8035E, MX25L8036E, MX25U8035(1.8V)
MX25U8035E(1.8V), MX25V8005(2.5V), MX25V8035E(2.5V), MX25L1605D
MX25L1606E, MX25L1633E, MX25L1635D, MX25L1636E, MX25U1635E(1.8V),

MX25L3206E,MX25L3225D, MX25L3235E, MX25L3236D, MX25L3237D,MX25U3235E(1.8V)

MX25L6406E, MX25L6436E, MX25L6445E, MX25L6465E, MX25U6435E(1.8V),MX25L12836E
MX25L12845E, MX25L12865E, MX25L25635E, MX25L25735E

————————————————————————————————————-
Winbond

W25B40 W25B40A, W25P10, W25P20, W25P40 W25P80, W25P16
W25X10,W25X20,W25X40,W25X80
W25X10A, W25X20A, W25X40A, W25X80A
W25X10AL, W25X20AL, W25X40AL, W25X80AL
W25X10BL, W25X20BL, W25X40BL
W25X10BV, W25X20BV, W25X40BV
W25X10L, W25X20L, W25X40L, W25X80L
W25X16, W25X16A, W25X32, W25X64
W25X32A, W25X32V, W25X64BV, W25X64V
W25Q16V, W25Q32V, W25Q32BW
W25Q40BV, W25Q80BV, W25Q16BV, W25Q32BV, W25Q64BV, W25Q128BV
W25Q64CV, W25Q32BW(1.8V)

————————————————————————————————————-

SST
SST25VF512A, SST25VF010, SST25VF010A, SST25VF020, SST25VF040B, SST25VF080B
SST25VF016A, SST25VF0320B SST25VF064C
SST25LF020A, SST25LF040A
SST25WF512, SST25WF010, SST25WF020, SST25WF040,SST25WF080, SST25WF016 , SST25WF032
W25Q16V W25Q32V

————————————————————————————————————-

Eon :
EN25F05 EN25F10 EN25F20 EN25F40 EN25F80 EN25F16 EN25F32
EN25D16 EN25B32 EN25B64
EN25LF05 EN25LF10 EN25LF20 EN25LF40
EN25P05 EN25P10 EN25P80 EN25P32 EN25P64
EN25T80

Excel Semiconductor Inc.
ES25P10,ES25P20,ES25P40,ES25P80,ES25P16,ES25P32

Numonyx(ST)
M25P05,M25P10,M25P20,M25P40,M25P80,M25P16,M25P32,M25P64,M25P128
M25PE10,M25PE20,M25PE40,M25PE80,
M25PX80,M25PX16,M25PX32,M25PX64,
M25Q32, M25Q128

————————————————————————————————————-

ATMEL
AT25DF021, AT25DF041A,AT25DF321,AT25F004,AT25F512A,AT25F2048,AT25F4096,
AT25F1024A,AT25FS010,AT25FS040, AT26DF081A,AT26DF161A,AT26DF321,AT26F004

————————————————————————————————————-

SPANSION 
S25FL001D S25FL002D S25FL004A S25FL008 S25FL016A S25FL032A S25FL032P S25FL064A S25FL128P

————————————————————————————————————-

Saifun
SA25F005 SA25F010 SA25F020 SA25F040 SA25F080 SA25F160 SA25F320

————————————————————————————————————-

Generalplus 
GPR25L005B, GPR25L010BV, GPR25L020B
GPR25L040B, GPR25L080BV, GPR25L161B
GPR25L321B, GPR25L641B, GPR25L128BA
GPR25L6404E,GPR25L1284E

Gigadevice
GD25D40 GD25D80 GD25F40 GD25F80 GD25T80

โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง #ตอนที่ 2 (วิธีการตรวจวัดความร้อนโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเรา)

  • สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่านครับ  เคยตั้งคำถามกันใช่ไม๊ครับว่า “ทำไมเครื่องโน๊ตบุ๊คของเราเวลาที่ถูกใช้ไปนานๆ หรือเวลาที่เล่นเกมส์ที่ใช้กราฟฟิคสูงๆ  บางทีเครื่องก็ดับไปเองเลย…”
  • สาเหตุหลักๆเลยครับ… คือเรื่องของการระบายความร้อนของเครื่องโน๊ตบุ๊คของเรา ดังที่ผมได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง ตอนที่ 1 (ปัญหาจากความร้อน)
  • สำหรับในตอนที่ 2 นี้ ผมได้แสดงวิธีการตรวจวัดอุณหภูมิความร้อนของเครื่องโน๊ตบุ๊ค ในสภาพที่ไม่อยู่ในตัวกรอบ แล้วใช้ ปืนวัดอุณหภูมิตรวจวัดอุณหภูมิให้เห็นกันว่า อุณหภูมิ ในจุดที่สำคัญๆ นั้น มีอุณหภูมิอยู่ที่กี่องศานะครับ

Continue reading

เมื่อวงจรภาคไฟแหล่งจ่ายมีการช้อตเกิดขึ้น

  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่า   วันนี้ผมได้ update ความรู้ในเรื่องของการใช้เครื่องมือสักเรื่องนะครับ  อุปกรณ์ชิ้นนี้คือ Regulator Atten APS3005S
  • ในฐานะที่เราเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค  เมื่อเราต้องการจะจ่ายกระแสไฟเข้าสู่เมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คเพื่อทดสอบการทำงาน  แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการเสียบสายของ อะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว  ตัวอะแดปเตอร์ที่มีไฟสถานะอยู่จะเกิดการกระพริบ หรือหรี่ หรือดับหายไป เลยก็มีครับ  และถ้าเราได้ถอดหัวเสียบออกจากบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค  สถานะไฟเหล่านั้นก็จะกลับสว่างเหมือนเดิม
  • กรณีที่เราเป็นช่าง ที่มีการใช้ Regurator เราก็จะต้องตั้งแรงดันไฟประมาณ 19V. ส่วนกระแสปรับไว้ที่สูงสุดของรุ่นนี้คือ 5 Amp ครับ แล้วทำการเสียบแหล่งจ่ายไฟจาก Regurator เข้าสู่เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ผลที่ได้ปรากฏดังรูปครับ คือ ด้านซ้ายกระแสจะอยู่ที่ 5.4 Amp ส่วนด้านขวา แรงดันนั้นจะตกลงอยู่แค่เพียง 0.39 V. เท่านั้นเองครับ   นั่นแสดงให้เห็นชัดเจนเลยว่ามีการช้อตในภาคไฟแหล่งจ่ายอย่างแน่นอน…อาการเหล่านี้ ทางช่างที่ซ่อมๆกัน เขาจะเรียกว่าอาการ“กินหมู” จบได้ไม่น่าเกิน ห้านาทีนะครับ

  • ที่ผมนำมาเสนอวันนี้ คงพูดถึงเพียงแค่การใช้ Regurator จ่ายไฟให้แก่เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คแทนการใช้อะแดปเตอร์ และเราจะเห็นสถานะการทำงานของเมนบอร์ด ว่าเป็นไปในทิศทางที่ดี หรือแย่นะครับ เพราะฉะนั้น กระแสจะเป็นตัวบอกเราได้ว่า ขณะนั้น บอร์ด หรือวงจรภาคไฟ ได้มีการทำงานแล้ว และได้ดึงกระแสไปเป็นปริมาณมากน้อยเท่าไหร่กันนะครับ   “ถ้าดึงน้อย ก็แสดงว่า วงจรชุดเล็กๆเริ่มทำงาน เพราะกินกระแสไม่ค่อยมาก แต่ถ้าดึงมาก เช่น สอง หรือสามแอมป์นั้นแสดงว่าวงจรภาคไฟในชุดต่างๆ เริ่มทำงานกันทั้งหมดแล้ว  จึงมีการดึงกระแสไฟจากแหล่งจ่ายไปใช้อย่างเต็มที่นั่นเองครับ

มีปัญหาสอบถามได้ที่ www.repair-notebooks.com ขอบคุณครับ

 

USB notebook เสียใช้ไม่ได้ เสียบาง port เสียทุก port จะซ่อมกันยังไง(ตอนที่ 2) RT9711 Power switches

  • สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน เช้าวันเสาร์ที่ 12/05/2555 ผมได้นำความรู้มาแนะนำกันอย่างเช่นเคยครับ  บทความในวันนี้เป็นเรื่องของ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เล็กตัวหนึ่งที่อยู่บนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค  ซึ่งเพื่อนสมาชิกช่างใหม่ ช่างเก่า หรือท่านผู้สนใจทุกท่านอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับเจ้าตัวนี้กันซะเท่าไหร่   แต่วันนี้ต้องขอนำมากล่าวตรงนี้เพราะว่า อาการที่เกิดขึ้นกับโน๊ตบุ๊คของเพื่อนๆนั้นก็คือ “USB จะใช้ไม่ได้ อาจหนึ่งหรือสองพรอต” ที่เจ้าตัวนี้มันควบคุมอยู่นะครับ

อาการที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ตัวนี้เสีย คือ USB ใช้งานไม่ได้ครับ แต่วินโดว์ยังทำงานได้ตามปรกตินะครับ

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

  • เมื่อเสียบ usb port เข้าไปจะไม่มีการ detect ของระบบแต่อย่างใด  หากเป็นพวกเม้าส์ หรือ เมมโมรี่ ก็จะไม่เห็นสถานะของไฟที่ตัวอุปกรณ์เหล่านั้น  หากเพื่อนที่ชอบใช้พัดลม ใช้โคมไฟที่ต่อพ่วงกับ usb port ก็จะไม่มีไฟเหล่านั้นติดให้เห็นครับ  ลักษณะอาการแบบนี้ ทำให้เราวิเคราะห์ได้ว่าเป็นปัญหาด้านระบบไฟ

Continue reading

CMOS Battery รูปแบบต่างๆที่อยู่ในโน๊ตบุ๊ค

  • เราทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า ระบบปฏิทินวันที่ และค่าความจำพื้นฐานที่เราได้ทำการตั้งค่าใน BIOS นั้น จะถูกเก็บไว้ในส่วนของหน่วยความจำของชิพ ซึ่งมี CMOS Battery จ่ายกระแสเลี้ยงตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงในขณะที่เครื่องไม่ได้ถูกใช้งานด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบความจำ หรือการโปรแกรมตารางนัดหมาย การจัดการในระบบ เพื่อให้เป็นไปตามช่วงเวลาในแต่ละช่วงๆ นั้น
  • สมัยแรกๆ ผู้เขียนมีความเข้าใจว่า แบตโน๊ตบุ๊ค (CMOS Battery) เป็นอะไรที่ห้ามไปยุ่ง ห้ามไปแกะ หรือเปลี่ยนแปลง เพราะมันจะทำให้ความจำของเครื่องลืมเลือนไปด้วย  (ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดนะครับ)
  • อีกเรื่องก็คือ…ถ่านCmos ในโน๊ตบุ๊ค จะเหมือนกับของ PC หรือเปล่าน๊อ..
  • วันนี้ผมได้นำรูปแบบถ่าน CMOS หลายๆ รูปแบบที่เห็นๆกันมาให้เพื่อนสมาชิกได้รู้จักกันนะครับ ดูตามรูปได้เลยครับ

สุดท้ายก็ขอแนบภาพของลิเที่ยมแบตทุกรุ่นไว้เป็นข้อมูลในการค้นหาต่อไปนะครับ

ขั้วถ่าน CMOS Battery โน๊ตบุ๊ค ตระกูล DV2000

  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้นั่งทำงานซ่อมอยู่ก็เลยนึกจะเขียนบทความขึ้นมาให้เป็นความรู้แก่ทุกท่านสักบทความนึง…ตามองไปเห็นบอร์ด DV2000 ซึ่งคิดอยู่ว่าเดี๋ยวจะนำขึ้นมาทดสอบการทำงาน เปิดเครื่องดูว่ายัง”เปิดติดมีภาพอยู่หรือเปล่า” ก็สังเกตุเห็นว่าถ่าน Cmos ของบอร์ดหายไป  ก็คิดจะหยิบถ่าน CMOS ก้อนอื่นมาใส่ ก็ต้องหยุดคิดอยู่นิดนึงว่า”แล้วทำไมขั้วของ DV2000 นี้จึงมีสามขั้ว(สามพิน) ตามรูปด้านล่างนะครับ  ซึ่งปรกติ ขั้วถ่านจะมีสองขาบวก ลบทั่วๆไป  ก็เลยนึกสงสัย และก็ต้องการจะตอบข้อสงสัยเหล่านั้นซะ  (เนื่องจากว่า นานๆหยิบมาทำ ก็มีลืมๆกันได้ทั้งนั้นแหละครับ)

 

  • จึงทำการไปเปิดวงจรในรุ่น DV2000 ขึ้นมา ค้นหาไปที่คำว่า “RTC1) ก็ได้ คำตอบตามวงจรด้านล่างนี้ว่า จริงๆแล้ว DV2000 ก็ใช้ขั้วสองขั้วเช่นกัน เพียงแต่ว่าใช้ในตำแหน่งขา 1 กับ ขา 3 ขาที่สองไม่ได้ใช้นะครับ ตามวงจรนั้น ขา 1 จะเป็นขาไฟบวกจากถ่านลิเทียม 3 V. ส่วนขา 3 จะต่อลงกราวด์ครับ

  • คงได้คำตอบแล้วนะครับ สำหรับเพื่อนๆสมาชิกทั้งใหม่ เก่า ที่ยังไม่ทราบหรือขี้หลงขี้ลืมแบบผม  ก็จะได้มีเอกสารไว้เพื่อเตือนความจำกัน 1 บทความแล้วครับ  สำหรับวันนี้ขอใช้เวลาเท่านี้ก่อนครับ (เดี๋ยว 22.30น. เข้าชั่วโมงสอนซ่อมเมนบอร์ดออนไลน์เพื่อนสมาชิกที่เรียนก่อนครับ)

วิธีการดูแลโน๊ตบุ๊ค เพื่อสู้อาการร้อน ณ เวลานี้

  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้ขออัพเดรทความรู้เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ตัวเก่งของเราในที่เวลานี้ (เม.ย.2555) เมืองไทยของเรามีอากาศที่ร้อนมากๆ  หลายๆท่านใช้โน๊ตบุ๊คทั้งวันทั้งคืน (คล้ายๆกับผู้เขียน) เพื่อใช้ในงานในหลายๆด้าน เพื่อความบันเทิง เพื่อทางธุรกิจ หรืออาจเพื่อการติดต่อสื่อสารกับสถาบันการเงิน การธนาคาร หรืออื่นๆ อีกหลายๆเรื่อง
  • ทีนี้มันมีอยู่ว่า เพื่อสมาชิกหลายๆท่านเหล่านี้ บางท่านก็ใช้เครื่องโน๊ตบุ๊คอยู่ในห้องปรับอากาศ(บ้านส่วนตัว,ออฟฟิศสำนักงาน) ก็คงได้รับผลกระทบน้อยหน่อย  ส่วนเพื่อนสมาชิกที่ทำงานโดยใช้โน๊ตบุ๊คอยู่ในบ้านตัวเองที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ อาจใช้แต่พัดลมเป่าแค่ตัวผู้ใช้เองด้วยซ้ำ(เอ๋…พูดออกมาแล้วเห็นภาพเลยนะ)  แหม..ก็ไม่ใช่ใครหรอกครับ ผู้เขียนเองนั่นแหละ…เลบจุดประเดนในการเขียนบทความในวันนี้ว่า “เป็นเรื่องของการดูแลโน๊ตบุ๊คเพื่อสู้กับอากาศร้อน”

การดูแลโน๊ตบุ๊คเพื่อลดความร้อนมีอยู่ด้วยกันหลายๆวิธี อาทิ

ที่วางโน๊ตบุ๊ค

Continue reading

Intel BD82HM55 Mobile Express Chipset

  • Chipset Mobile Intel® HM55 Express มาแนะนำความรู้ให้ทราบกัน สำหรับเพื่อนๆที่ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับมันมากนัก
  • สมัยก่อนๆ โครงสร้างของชิพเซ็ทบนเมนบอร์ดจะเป็นแบบ เหนือ ใต้ คือมีชิพเซ็ทส่วนเหนือที่ควบคุมดูแล CPU,RAM,VGA  และชิพเซ็ทส่วนใต้ที่ควบคุมดูแลสำหรับส่วนต่างๆทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวกับ  CPU,RAM,VGA ครับ นั่นหมายถึงว่าไม่ว่าจะเป็นด้านการเชื่อมต่อHDD , ODD , USB ,Slot ต่างๆ และอีกหลายๆเรื่องด้วยกัน ทั้งหมดจะรวมอยู่ในชิพส่วนใต้ทั้งนั้นครับ
  • สมัยนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนไปมาก ได้มีการนำเอาโครงสร้างทั้งหมดเหล่านั้นจับรวมไว้ในชิพตัวเดียวซะเลย เราอาจเรียกมันว่าเป็น Single chip ก็ได้นะครับ เพราะความสำคัญของภาคส่วนต่างๆจะถูกควบคุมด้วยชิพนี้แทบทั้งหมด
  • ชิพตัวนี้จะจับคู่กับ CPU ตระกูล Core I เช่น I3 I5 I7 ที่เป็นของยี่ห้อ Intel ครับ ใช้ร่วมกับ RAM DDR3 ที่ใช้แรงไฟ 1.5 โวลท์มีความเร็วของบัสในการทำงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้ใช้ได้รู้สึกถึงความเร็วของเครื่องมากขึ้นด้วยครับ

  • Launch Date Q1’10
    Embedded Options Available Yes
    Supplemental SKU No
    Lithography 65 nm
    Max TDP 3.5 W
    Graphics Specifications
    Integrated Graphics Yes
    Graphics Output LVDS, CRT, Display Port, DVI, HDMI, SVDO
    Dual Display Capable Yes
    Macrovision* License Required No
    Expansion Options
    PCI Support Yes
    # of PCI Express Ports 6
    I/O Specifications
    USB Revision USB 2.0
    # of USB Ports 12
    # of SATA Ports 4
    Integrated LAN 10/100/1000
    Integrated IDE No
    Package Specifications
    Max CPU Configuration 1
    Package Size 25mm x 27 mm
    Low Halogen Options Available See MDDS

     

โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง #ตอนที่1(ปัญหาด้านความร้อน)

  • สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาว Repair-Notebook ทุกๆท่าน  สำหรับในวันนี้ ผมขอเพิ่มเติมบทความรู้ที่เกี่ยวกับการคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คของทุกๆท่าน ที่อาจจะเกิดอาการแบบที่ผมได้ขึ้นหัวข้อไว้ก็ได้นะครับ  เรื่องมันมีอยู่ว่า “เราก็ใช้โน๊ตบุ๊คของเราตามปรกตินั่นแหละ  แต่เผอิญว่า วันนี้ ใช้ไปได้สักพักใหญ่ อยู่ๆ โน๊ตบุ๊คของเราก็ดับไปโดยไม่บอกกล่าวให้เราได้บันทึกงาน หรือเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมความพร้อมเพื่อในการปิดเครื่องเลย (ปิดเองแบบนี้ เดี๋ยววินโดว์พังอีก ฮาร์ดดิสก์พัง ข้อมูลเสียหาย โอ้ย…หลายๆเรื่องมันจะเกี่ยวพันธ์กันหมดแหละครับ)

 

อุปกรณ์ที่ควรตรวจสอบ

  • พัดลม CPU (CPU Fan) ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวสำคัญในการช่วยระบายความร้อนให้แก่ตัวชิ้งค์ทองแดง  พัดลมอาจจะไม่หมุน  อาจจะหมุนช้า(เพราะความสกปรก) พัดลมอาจหมุนปรกติ แต่ที่ตะแกรงทางออกเต็มไปด้วยฝุ่นหนา ทำให้การระบายความไม่สามารถผ่านออกไปทางซิ้งค์ทองแดงได้  ซึ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของการทำให้ความร้อนเกิดการสะสม และเกิดปัญหาด้านการดับของเครื่องต่อมานั่นเอง

  • ซิ้งค์ทองแดง (Sink) ซิ้งค์นี้จะทำหน้าทีในการดูดซับความร้อนจากตัว Core CPU และส่วนของ Northbridge (บางรุ่นของโน๊ตบุ๊ค) ซึ่งจะทำให้ความร้อนในซิ้งค์รวมกันทั้งหมดผ่านเข้าในส่วนท่อซิ้งค์ทองแดง ซึ่งภายในจะมีน้ำยาที่จะเดือดเป็นไอ และแผ่กระจายความร้อนไปทั่วตัวซิ้งค์ (ต้องบอกว่า ไม่ใช่แค่ซิ้งค์ทองแดงเฉยๆที่จะช่วยระบายความร้อนนะครับ  ถ้าไม่มีน้ำยาอยู่ภายใน ก็จะเป็นผลทำให้ความร้อนไม่มีการเคลื่อนตัวไปทั่วซิ้งค์ได้เร็ว  ผลที่ตามมาก็คือ  การร้อนเฉพาะที่ และทำให้เครื่องดับไปนั่นเอง)

  • วงจรควบคุมการหมุนของพัดลม (Fan Controller) ซึ่งในส่วนวงจรควบคุมนี้ จะมีหลักการทำงานเหมือนๆกันแทบทั้งสิ้นในหลายๆ บอร์ด ซึ่งการทำงานของวงจรควบคุมการหมุนของพัลมนั้นจะได้มาจาก การตรวจจับความร้อนบริเวณ CPU และส่งคำสั่งไปยัง IO Controller จากนั้นจะมีคำสั่งจาก IO สั่งไปยัง IC OP-Amp (ส่วนใหญ่จะใช้เบอร์ที่เป็น XX358 ) ซึ่ง IC นี้จะควบคุมการทำงานของ Fet ที่จะให้กระแสไฟไหลผ่านจาก D-S ไปที่ขาไฟของพัดลม(ขาที่1)  ทำให้มีการหมุนที่สอดคล้องกับอุณหภูมิที่แปรผัน   นั่นหมายถึงว่าถ้า CPU ร้อนมาก  IC OP-Amp ก็จะสั่งให้ Fet จ่ายกระแสไฟมากขึ้น พัดลมก็จะหมุนแรงขึ้นนั่นเอง)

วิธีการตรวจสอบไฟจากอะแดปเตอร์โน๊ตบุ๊ค

  • สวัสดีครับเพื่อนๆและท่านผู้สนใจทุกท่าน  วันนี้เป็นวันที่ 28 ธันวาคม 2554 ใกล้จะสิ้นปี พ.ศ.นี้กันแล้วครับ   ก็ขออัพเดรทความรู้ให้เป็นวิทยาทานแก่ทุกท่านอีกเรื่องหนึ่งครับ  นั่นคือวิธีการวัดค่าแรงไฟที่แจ๊คหัวเสียบของอะแดปเตอร์ที่ใช้กับโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเราครับ…เพื่อวัตถุประสงค์ในการสรุปว่า ขณะนี้มีแรงไฟได้รออยู่ที่แจ๊คหัวเสียบของอะแดปเตอร์แล้ว  พร้อมที่จะเสียบเข้าสู่ตัวเครื่องโน๊ตบุ๊คของเราให้พร้อมทำงานกันต่อไปทันทีก

รูปภาพแสดงการใช้ Digital Meter เพื่อวัดขั้วไฟจากอะแดปเตอร์

รูปด้านล่างนี้เป็นการแนะนำการใช้ Multi Meter ชนิดเข็ม ทำการวัดขั้วไฟอะแดปเตอร์ของโน๊ตบุ๊ค

เครื่องมือที่ใช้

  1. Multi Meter แบบเข็ม หรือ แบบ ดิจิตอลก็ได้
  2. อะแดปเตอร์สำหรับใช้กับโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเราครับ

วิธีการวัด

  1. เริ่มด้วยการบิดย่านการวัดของมิเตอร์ไปที่การวัดไฟกระแสตรง (DC V.)  จากนั้นใช้สายวัดสีแดง เสียบเข้าไปในรูตรงกลางของแจ๊คหัวเสียบตามรูป  ส่วนสายวัดสีดำ ก็ให้แตะไปที่ตัวโครงสร้างด้านนอก(ตรงที่ตำแหน่งของปากคีบตามรูปนะครับ) จากนั้นเราก็จะสามารถอ่านค่าแรงไฟของอะแดปเตอร์ที่เราใช้อยู่ได้ค่า (ถ้าตามรูป เป็นมิเตอร์ดิจิตอล และแบบเข็ม จะอ่านค่าได้ 19V. ครับ)
  • แค่นี้เพื่อสมาชิก และท่านผู้สนใจในการเรียนรู้ด้านช่าง ก็จะทราบแล้วครับว่า  แรงไฟของอะแดปเตอร์ของเรามีแน่นอน พร้อมจะจ่ายให้แก่โน๊ตบุ๊คตัวเก่งได้แล้ว….
  • แต่ถ้าการวัดตามข้อ 1  ไม่สามารถอ่านค่าแรงไฟได้  ..ให้สัญนิฐานไว้ว่า ขั้วสายไฟทางด้านไฟบ้านของเราได้เสียบแล้วหรือยัง เสียบแล้วแน่นหรือเปล่า หรือ ปลั๊กไฟที่เสียบไม่แน่น, สิ่งเหล่านี้ต้องดูให้ละเอียดด้วยนะครับ  ส่วนใหญ่ที่ตัวของอะแดปเตอร์จะมีไฟสถานะอยู่หนึ่งดวง  ให้ดูดวงนั้นก็ได้ครับ …พอจะบอกได้ว่าไฟจากบ้านจ่ายเข้าตัวอะแดปเตอร์แล้ว  แต่ไฟที่จะออกไปเลี้ยงโน๊ตบุ๊คเรา…จะเป็นเท่าไหร่นั้น…เราก็ใช้วิธีการที่เราได้เรียนรู้จากตรงนี้ไปใช้ได้เลยครับเพื่อนๆ