• สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้ผมได้นำความรู้ด้านการซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คมาเพิ่มเติมความรู้กันอีกบทความนึงครับ ?ซึ่งผมได้ลงรูปให้ดูทางด้านล่างนี้ ? เราจะเห็นว่า ผมทำการวัด C (condensor) ตัวหนึ่งในวงจร และหน้าปัทม์ของมิเตอร์แบบดิจิตอลแสดงตัวเลขเป็นศูนย์โอมห์ ?ซึ่งผมได้ทำการสลับสายวัดแล้ว จากแดงเป็นดำ จากดำเป็นแดง ?และทำการวัดครั้งที่สองก็ได้ค่าเป็นศูนย์โอมห์ เหมือนกัน หากผลการวัดออกมาเป็นอย่างนี้ ?เพื่อนๆ สมาชิกอย่าเพิ่งไปเชื่อหรือปักใจว่าต้องเป็น C ตัวนี้เสมอไปนะครับ ?เพราะตำแหน่งของ C ในวงจรส่วนใหญ่จะเป็นการต่อกับไฟลงกราวด์ เพื่อ Filter หรืออาจ By pass ความถี่ทิ้งก็ได้ครับ

 

  • ตัวอย่างที่เห็นคือภาพด้านบนที่ผมนำมาเสนอนี้ ?ผมได้ทำการตรวจซ่อมแล้ว และผลปรากฏว่ามีการวัดไปที่ตำแหน่ง C ตัวนี้ แล้วได้ผลว่าค่าโอมห์ต่ำ ?ถ้าจะมุ่งว่ามันช้อต คงอย่าไปปลักใจ ?จนกว่าเพื่อนๆสมาชิกจะทำการยกออกจากบอร์ดก่อน(ด้วยลมร้อน หรือหัวแร้งก็แล้วแต่ถนัดนะครับ) ?ถ้าได้มีการยกมาแล้วก็ต้องนำออกมาวัดภายนอกดูอีกที ดูค่าโอมห์ที่ได้ว่ายังต่ำมากๆจนถึงศูนย์(ช้อต) อีกหรือไม่
  • ถ้าผลการวัดแล้ว ปรากฏว่า C ตัวที่เพื่อนสมาชิกถอดออกมาวัดภายนอกนั้นช้อตเหมือนเดิม(โอมห์ต่ำ) ก็ให้เพื่อนสมาชิก ใช้มิเตอร์วัดลงไปที่ตำแหน่งจุดบัดกรีของ C ตัวนี้ที่เมนบอร์ดด้วย เพื่อหาข้อสรุปว่า ที่บอร์ดได้ค่าการวัดเป็นโอมห์ต่ำหรือสูง แล้ว ? ถ้าสูงก็แสดงว่าปรกติ ?แต่ถ้าต่ำเหมือนเดิม(ศูนย์โอมห์) ก็แสดงว่า C ตัวที่ถอดก็เป็นเพียงหนึ่งตัวเท่านั้นที่เพื่อนสมาชิกเจอในตอนนี้ ?แต่ยังมีตัวอื่นอีกที่ยังช้อต (ซึ่งอาจไม่ใช่ C ก็ได้นะครับ) ส่วนจะเป็นตัวอะไรนั้น ผมก็ตอบไม่ได้ เราคงต้องวัดดูเพื่อหาข้อสรุปครับ
  • สำหรับเพื่อนสมาชิกที่เป็นช่างใหม่ ช่างเก่า ก็คงจะทราบวิธีการวัดเพื่อหาตัวช้อตกันได้อย่างรวดเร็วนะครับ ส่วนเพื่อนสมาชิกที่เป็นผู้ใช้และได้อ่านบทความนี้อาจงงๆอยู่ ซึ่งถ้าไม่คิดจะมุ่งเป็นช่าง ?ผมว่าอย่าเพิ่งไปยิ่งกับวิธีการเหล่านี้เลยครับ เดี๋ยวอาการจะบานปลายไปใหญ่ เอาเป็นว่าผมนำบทความมานำเสนอก็เพื่อให้เพื่อนสมาชิกได้ทราบว่า วิธีการตรวจวัดและผลของการตรวจวัดเป็นยังไงเป็นหลักก็แล้วกันนะครับ

สำหรับวันนี้ขอทิ้งไว้เพียงเท่านี้นะครับ ขอบคุณครับ

mr.toyny (repair-notebook.com)