RTC Clear:Acer 4740,4736,4735,4925 ตำแหน่งเคลีย์ CMOS
- สวัสดีครับเพื่อนสมาชิก repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้ผมได้นำบทความรู้ที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาของผู้ใช้ที่หลงๆลืมๆเกี่ยวกับ password bios ที่ได้ตั้งไว้ (ชอบตั้งกันไว้ไม่ให้คนอื่นมาใช้คอมเรา) และผลที่ได้คืออะไรรู้ไม๊ครับ ? เพื่อนๆก็ลืมกันเองว่าชั้นตั้งรหัสอะไรไว้นั่นเองครับ
- จริงๆแล้ว บทความที่ผมเขียนนี้มันอาจไม่ใหม่เกินไปสำหรับทุกท่านที่ใช้โน๊ตบุ๊ค แต่มันจะเป็นประโยชน์และความรู้เล็กๆน้อยๆ สำหรับผู้ที่เข้ามาศึกษา หรือหาข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาของการลืมพาสเวิร์ดกันนะครับ
- สำหรับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มยี่ห้อเอเซอร์ Acer เท่าๆที่สังเกตุมา เขาจะวางจุดสำหรับเคลีย CMOS ไว้เพื่อผู้ใช้ได้แก้ไขปัญหาด้วยตนเองอยู่แล้วครับ ดังตัวอย่างที่ผมนำมาลงให้จะเห็นว่า ใน 3 แท่นเครื่องนี้จะมีการวางจุด Clear CMOS ไว้ใต้ฐานแรม หรือในวงจร(Schematic) จะเรียกว่า RAM Door ครับ
- เหตุที่เขาทำตำแหน่งเคลียไว้ก็เพราะว่า ผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นตำแหน่ง RTC Batt ซึ่งวางอยู่ด้านในเครื่องได้ ทำให้ลำบากต่อการถอดถ่าน 3โวลท์ที่เป็นแบ๊คอัพของ CMOS จึงต้องทำตำแหน่งเคลียรองรับไว้ให้นั่นเองครับ
วิธีการในการเคลียร์ CMOS Acer
- ก่อนอื่นต้องถอดขั้วไฟอะแดปเตอร์ออกก่อน รวมถึงแบตเตอรี่แพ๊คของโน๊ตบุ๊คด้วยครับ
- ถอดแรมออกด้วยหละครับ (เมื่อทำเสร็จแล้วค่อยใส่เข้าไปใหม่)
- หาสายไฟแข็งหรือใช้ปลายไขควงปากแบน หรืออาจจะเป็นแหนบโลหะก็ได้(เน้นย้ำว่าต้องเป็นโลหะนะครับ) แล้วทำการช้อตไปที่เป็นตำแหน่งของจุดตะกั่วสองจุด(ฝั่งนึงจะเป็นกราวด์ ขั้วลบ อีกฝั่งนึงจะเป็นบวก 3โวลท์) จับเวลาประมาณ 30วินาทีเป็นอย่างต่ำ และหยุดการทำ
- เสียบ RAM กลับเข้าในตำแหน่งเดิม (เสียบเอียงๆ ดันเข้าไปใน socket RAM จากนั้นให้กดแรมลงเข้าหาบอร์ด ก็จะเป็นการล๊อคแรมเข้ากับ socket แล้วครับ
- เสียบอะแดปเตอร์ และทดสอบเปิดเครื่อง
- จากนั้นกด F2 เพื่อนเข้าไบออส ดูว่าหายหรือยัง (คำว่าหายหรือยัง คือยังต้องผ่าน password อยู่อีกหรือเปล่านั่นเอง)ครับ
- หากยังไม่ได้ผล ให้กลับไปทำในวิธีข้างต้นอีกครั้ง คราวนี้ให้ใช้เวลาในการช้อตตำแหน่งตะกั่วให้นานขึ้นหน่อยก็แล้วกันนะครับ
ผมฝากบทความไว้เพียงแค่นี้ครับ มีปัญหาขัดข้องประการใด คุยกันทาง facebook หรืออาจเข้าไปคุยกันใน webboard ของเราก็ได้เช่นกันครับ
Comments Off on RTC Clear:Acer 4740,4736,4735,4925 ตำแหน่งเคลีย์ CMOS