Power Supply Tester
- สวัสดี ครับเืพื่อนๆ วันนี้ผมขอแทรกบทความเป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องมือสักหน่อยนะครับ?? เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือสำหรับการทดสอบ power supply ทั้ง พีซี และก็โน๊ตบุ๊ค หลายท่านคงเคยได้เห็นในหน้าเว๊ปไซด์ต่างๆ กันแล้วนะครับ
เปิดเครื่องไม่ติด ไม่มีไฟจ่าย? ทดสอบยังไง
- กรณีนี้ครับ…เพื่อนๆหลายๆ ก็หา ลวดเหน็บกระดาษ มาทำเป็นตัว ยู? แล้วเสียบเข้าไประหว่างขั้วไฟสีเขียว กับ สีดำ? ก็จะทำให้พาวเวอร์ซัพพลายจ่ายกระแสได้? แต่ถ้าไม่จ่าย ก็แสดงว่า พาวเวอร์เสียครับ ถ้าไม่ใช่ช่างอิเล็คก็ไม่ควรเข้าไปยุ่ง โดยการแกะเข้าไปในตัวของเครื่อง Power Supply นะครับ เพราะมีอันตรายถึงชีวิตได้ครับ..
เคยเจอไม๊ครับที่เวลาเราทดสอบโดยการ ช้อตเขียวดำ แล้ว Supply ทำงานจ่ายไฟปรกติ แต่พอใส่เข้าไปในเครื่องแล้ว กลับเปิดไม่ติด
- อาการ เหล่านี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับพาวเวอร์ซัพพลายทั่วๆไปที่ขายตาม ท้องตลาด? เนื่องจากภาระการจ่ายกระแสของพาวเวอร์ไม่พอครับ แต่การทดสอบโดยการช้อตสายสีเขียวกับสีดำนั้น จะไม่มีการใช้กระแสใดเลยนอกจากพัดลมเล็กๆตัวนึง ที่อยู่ในตัวของ Power Supply? จึงทำให้พาวเวอร์สามารถจ่ายไฟได้? และเพื่อนๆ ก็สามารถที่จะใช้มัลติมิเตอร์ทำการวัดไฟได้ตามสเป็ค? นั่นเองครับ
ทีนี้จะทำยังไง…ถ้าต้องการความมั่นใจในระดับหนึ่งว่าพาวเวอร์ของเราจะจ่ายกระแสได้
- การนำไปไปต่อใช้งานจริงในเครื่องไงครับ? เพราะมันจะจ่ายกระแสให้เมนบอร์ด , ฮาร์ดดิสก์ , DVD , พัดลมเคส ,และอื่นๆครับ? ดังนั้นหากเราทำการทดสอบแบบนี้ (Brun Test) สักพัก? , ทำการเปิด ปิด เครื่อง เพื่อทดสอบการสั่งออน์พาวเวอร์??? เพื่อให้มีการกระชากของกระแสไฟในขณะเริ่มต้น ก็จะทำให้เรามีความมั่นใจได้ในระดับหนึ่งเลยครับ
- ใช้เครื่องทดสอบ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply Unit Tester? : PSU Tester ) โดยตรง ครับ?? นั่นหมายความว่า เราต้องมีเครื่องมือชิ้นนี้ ง? โดยต้องเน้นหลักๆ ก็คือ ตรวจเช็คไฟสถานะในแต่ละระดับได้ เช่น หากไฟในระดับ 3.3 , 5 , 12 มีไม่ถึงในระดับเท่าใด? ก็จะไม่แสดงสถานะ เช่นหลอด LED ก็จะไม่ติดสว่าง? หากติด ก็แสดงว่าอยู่ในระดับที่ถูกต้อง หรือหากเกินมาก ก็จะแจ้งสถานะอื่น เป็นต้น? นั่นหมายถึงว่า เครื่องทดสอบเหล่านั้น อาจมีคุณสมบัติตามที่ผมแจ้งนะครับ
- ปัญหา ต่อมาก็คือเครื่องมือเหล่านั้น? ผมไม่แน่ใจว่ามีการออกแบบวงจรกันยังไง… แต่ที่รู้ๆ ก็คือ เครื่องทดสอบที่ดีควรจะต้องมีการทดสอบในการดึงกระแสให้เห็นชัดเจน?? นั่นหมายความว่า? หากพาวเวอร์ซัพพลายมีความสามารถในการจ่ายกระแสไม่ถึงเกณฑ์ ก็จะไม่สามารถทำงานได้ครับ ซึ่งกรณีนี้เราจะเจอกับปัญหาที่เวลา เราติดตั้งเข้าไปในเครื่องแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามีปัญหาจุกจิกต่าง ๆ? เช่น เปิดไม่ติดเลย ทั้งๆ ที่ได้ทำการทดลองด้วยเครื่องทดสอบแล้ว ก็ตาม? …
ขอนำเสนอ อุปกรณ์ชิ้นนี้หน่อยครับ?? เจ้า PSU? Tester แบบไทยประดิษฐ์ครับ
- แน่นอนครับ ในพื้นฐานหลักที่ผมได้อยู่กับอิเล็คทรอนิคส์มา และวันๆ ก็จะอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น Adaptor notebook,? หรือ Switching Power Supply ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเป็นหลายๆ ร้อยตัว? พวกเราต้องทำการซ่อม และทดสอบครับ?? และเราก็ได้พบกับปัญหากับเครื่องมือจากต่างประเทศเหล่านั้น? ตามที่ผมได้กล่าวไว้ คือ พอนำไปใช้งานจริงกับใช้งานไม่ได้ครับ เนื่องจากภาวะการจ่ายกระแสไฟฟ้า ไม่เพียงพอต่อการดึงกระแสของโหลดนะครับเราก็เลยคิดประดิษฐ์เครื่องทดสอบตัว นี้ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของเราเองในการที่จะใช้เป็นเครื่องทดสอบใน การทำงาน ที่มีประสิทธิภาพชิ้นหนึ่ง? ถึงแม้จะดูหน้าดูตา จะสู้แบบที่เขาทำขายเป็นอุตสาหกรรมไม่ได้? แต่ก็ไม่ถึงกับขี้ริ้วขี้เหล่ มากนักครับ? ที่สำคัญ? ก็คือ การที่นำมาใช้งานในการทดสอบ พาวเวอร์ซัพพลายได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
เพื่อนๆที่มีความสนใจ ก็สั่งเข้ามาได้นะครับ? โดยเขียนทิ้งไว้ใน Comment ด้านล่างได้เลยครับเนื่องจากเป็นงานที่ผลิตขึ้นด้วยแรงงานผมเอง? จึงขออนุญาติ เพื่อนๆ ให้เวลาผมสักหน่อย
หลังจากที่แจ้งความจำนงเข้ามาแล้ว ผมจะรีบดำเนินการจัดทำให้โดยเร็วเลยนะครับ
ราคาขายอยู่ที่ 800 บาท? จัดส่งฟรี รับประกันซ่อมฟรี 1 ปี ครับ
หากมีข้อสงสัย ข้อคิดเห็น สอบถามปัญหา อาการเสีย เชิญที่ Webboard นะครับ
Leave a Reply