วิธีการดูวงจรในส่วนของภาคไฟชุดต่างๆ ของโน๊ตบุ๊ค
- สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกและผู้สนใจในการเรียนรู้ด้านการซ่อมโน๊ตบุ๊คทุกท่าน วันนี้ทาง repair-notebook.com ขอ update บทความใหม่อีกเรื่องนึง ซึ่งก็จะเป็นในส่วนของการเรียนรู้เกี่ยวกับด้านการอ่าน การดูวงจร (Schematic) กันต่อนะครับ เพราะแค่ใน Schematic นั้น มีความรู้เยอะแยะ มากมาย หลายยี่ห้อ หลายรุ่น มีความแต่กต่าง มีความเหมือน มีความพิเศษ ในแต่ละรุ่นๆ ไป ซึ่งหากผู้ศึกษาได้ตั้งใจทำความเข้าใจ ก็จะไม่ถือเป็นการยากนะครับ อย่าคิดว่า การเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คจะต้องซ่อมเป็นอย่างเดียวหละครับ (ปฏิบัติ) ผู้เป็นช่างที่ดี ควรจะต้องมีทั้งความรู้ด้านทฤษฎี ด้านปฏิบัติ ประสพการณ์ และเครื่องไม้ เครื่องมือที่ครบครันเลย
- รูปด้านบนนี้ เป็นการขึ้นเพื่อให้ผู้ศึกษา และช่าง ได้ทราบถึงตำแหน่งต่างๆ ของชุดระบบไฟที่จะบ่งบอกว่า IC เบอร์อะไรในตำแหน่งไหน ได้รับไฟจากที่ใด และทำให้เกิดชุดแรงไฟออกไปเท่าไหร่ รวมถึงบอกถึงวิธีการดูว่า ในเส้นสีม่วง สีส้ม สีดำปะ ใช้สื่อสัญญาลักษณ์อะไร เพื่อทำให้ผู้อ่านวงจร สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น
- repair-notebook.com ก็เลยตัดภาพออกมาขยายให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดๆขึ้น โดยจากภาพด้านล่างนี้ จะเห็นว่า การวางโครงสร้างระบบไฟของ 5V_S5 นัน จะจ่ายไฟออกไปทาง IC,Mosfet เบอร์ต่างๆ ทีอยู่ทางด้านล่าง(ในภาพ) นั่นหมายถึงว่า หลังจากไฟชุด 5V_S5 ทำงานแล้ว ก็จะผ่านไฟเหล่านี้่ไปยัง regulator และรวมถึงกลุ่ม Mosfet Switch อีกหลายๆ ส่วน เพื่อเป็นการลดทอนแรงไฟ และหรือทำให้เกิดเป็นชุดไฟอื่น แยกออกไปใช้ให้เป็นอิสระ
- จากรูปข้างล่างนี้ Power Shape สัญญาลักษณ์ที่จะบอกแก่ผู้อ่านวงจรว่า ถ้าเป็นกรอบสีม่วงนะ จะเป็น Regulator (ไฟเข้าสูง ไฟออกจะต่ำลงกระแสสูง) หรือ LDO ก็จะเป็นลักษณะของไฟค่าโวลท์คงที่ เช่น 3.3/5 V. เป็นต้น แต่ไฟชุดในความหมาย LDO จะมีกระแสต่ำเช่นไม่เกิน 100 mA. ส่วนกรอบที่เป็นเส้นปะสีดำ จะถูกเรียกเป็น Switch นั่นหมายความว่า เป็นกาที่เอาไฟเข้าไปผ่าน switch นี้แล้วก็ออกไปใช้ด้วยแรงไฟเท่าเดิม เช่น จ่ายเข้าไป 3.3 v.หลังผ่านสวิทช์ ก็จะออกเป็น 3.3v. เหมือนเดิม แต่อาจจะถูกเปลี่่ยนชื่อเรียกใหม่เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า ไฟที่ผ่าน switch นี้ เอาไปใช้อะไรนั่นเองครับ
- เพื่อนๆ ครับ อ่านบทความกันวันหละนิด วันละหน่อยก่อนนะครับ สนใจค้นหาในบทความเก่าๆเขาเราก็มีเยอะครับ แต่สำหรับในเรื่องการอ่านวงจร เรายังมีเนื้อหาที่จะเพิ่มเติมความรู้ให้กันอยู่ตลอด คอยติดตามบทความต่อๆไปนะครับ
หากมีข้อสงสัย ข้อคิดเห็น สอบถามปัญหา อาการเสีย เชิญที่ Webboard นะครับ
Leave a Reply