เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : อาการเสียบสายชาร์จแล้วเครื่องทำงานเอง ไม่มีภาพ
- สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก repair-notebook.com ทุกท่าน สำหรับบทความวันนี้ ผมได้หยิบยกเรื่องของอาการที่เกี่ยวกับการไม่เกิดภาพมาให้เป็นบทความรู้อีกเรื่องหนึ่ง แต่ลักษณะอาการของวันนี้ มันเกิดจากการเสียบปลั๊กไฟ สายชาร์ฺจของเราเข้าไปเพื่อจะใช้เครื่องตามปรกติ แต่ปรากฏว่า เครื่องเปิดขึ้นเองเลย โดยที่เรายังไม่ได้ไปกด Switch ของเครือ่งเลย แต่ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ มันไม่มีภาพด้วยนี่สิ… ตามมาดูกันเลยนะครับว่า เราจะมีแนวทางในการวิเคราะห์ตรวจซ่อมกันอย่างไร
แท่นเครื่อง
- Dell Inspiron N4030
ลักษณะอาการ
- เสียบปลั๊กไฟ สายชาร์จเข้าเครื่องปุ๊ป เครื่องทำงานเองเลย แต่…ไม่มีภาพจร้า
แนวทางการตรวจซ่อม
- ในแนวทางของแท่นเครื่องต่างๆ เหล่านี้ ในลักษณะอาการนี้ อาจมองไปได้ในแง่ของคำสั่งผิดพลาด แต่ก็นั่นแหละ หากสิ่งที่เราได้เคยพูดๆกันไว้ในบทความเก่าๆ ก็จะต้องเอาความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ กล่าวคือ “ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น มือสัมผัส” แน่นอนเลยว่า สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ผู้เป็นช่าง สามารถค้นหา หรือพบเจอปัญหาของอาการเสียเหล่านั้นได้รวดเร็วกว่า
ตำแหน่งคอลย์ที่วัดได้ศูนย์โอมห์ คือ PL4902
- แนวความคิดในการตรวจซ่อมสำหรับลักษณะอาการแบบนี้ แน่นอนว่า เพื่อๆ สมาชิก ใช้หลัก “ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น มือสัมผัส”ตามที่ได้กล่าวข้างต้น จากนั้นลุยเลยครับ เจอไม๊ครับ…ฮ่าๆๆ สำหรับแท่นนี้ ได้ใช้มือสัมผัสดูไปตามตำแหน่งอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นต่างๆ แล้ว ได้พบว่าตำแหน่ง south bridge มีความร้อนสูงมากๆ(ช่วงเวลาแป๊ปเดียว ร้นอจนจับไม่ได้เลยหละ) ซึ่งปรกติ เจ้าชิพ South bridge นี้ จะไม่ร้อนขนาดนี้ครับ แน่นอนว่า เราได้เจอผู้ต้องสงสัยเข้าแล้วด้วยวิชา “มือสัมผัสครับ”
คราวนี้เรามาลองพิจารณาดูว่า เหตุที่มันร้อนมันเกิดจากอะไร
- ใช้มิเตอร์ตั้งวัดการขาดต่อของวงจร (บิดไปที่วัดโอมห์ , หรือเสียง Beep ก็ได้ครับ) จากนั้นให้ใช้สายสีดำของมิเตอร์จับกราวด์ของแท่นเครื่อง(ทองแดง ตำแหน่งรูใส่สกรูก็ได้ครับ) จากนั้นเอาสายโพ๊ปที่เหลือ แตะวัดไปที่ขาของคอยล์ต่างๆ ทั่วบอร์ดเลย(ก็ได้ครับ เนื่องจากหลายท่านไม่เข้าใจว่าจะไปวัดตรงไหน อีกเรื่องนึง…เจ้าคอยล์ในวงจรก็มีไม่เกินสิบตัวครับ) วัดคอลย์เทียบกรววด์ เพื่อหาตัวที่มีค่าความต้านทานตำสุด ก็จะทราบว่า มีชุดไฟชุดไหนช้อต
แต่สำหรับตามบทความนี้ ตามรูป เราสามารถวัดได้ที่คอลย์ตำแหน่งข้างฐานแรม เราวัดได้ศูนย์โอมห์เต็มเลย ครับ
- ทำไงต่อ แน่นอนว่า เรารู้แล้วว่า ชิพ Southbridge ร้อนจัด และเป็นผู้ต้องสงสัย และจะเห็นว่ามันเป็นเหตุเป็นผลกับชุดคอลย์ที่อยู่ข้างฐานแรมตัวนั้น ทำให้ไฟที่ชุดคอลย์เป็นศูนย์โวลท์
- ในแนวทางขั้นต่อไปก็ต้อง จัดการผู้ต้องสงสัยซะครับ หน้าที่ตรงนี้คงเป็นการปฏิบัติของช่างแล้วหละครับ ที่จะต้องยกชิพตัวนี้ออกมา แล้วให้วัดที่ตำแหน่ง คลอย์ PL4902 เทียบกราวด์อีกทีและครับ สำหรับแท่นตามรูปด้านล่างนี้ เมื่อวัดเทียบกราวด์อีกครั้งจะได้ค่าโอมห์เป็น 6 โอมห์ ซึ่งแสดงว่าหายช้อตไปแล้ว จากนั้นจากไฟเข้าบอร์ด แล้ววัดไฟอีกครั้ง ได้ค่าแรงไฟที่ตรงคอลย์นี้ 1 โวลท์ กว่าๆ ครับ ซึ่งถือว่า ได้ข้อสรุปตัวเสียที่ถูกต้องแล้วคือ Southbridge ครับ
แนวทางวิธีการตรวจซ่อมระบบไฟ และแนวความรู้ต่างๆ สามารถเรียนรู้ได้เพิ่มเติมจาก www.repair-notebook.com หรือทาง Facebook.com https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH
หากมีข้อสงสัย ข้อคิดเห็น สอบถามปัญหา อาการเสีย เชิญที่ Webboard นะครับ
Leave a Reply