เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : ขดลวดทองแดงที่อยู่ในภาคไฟของโน๊ตบุ๊ค ผ่าดูภายใน???
- เคยสงสัยกันบ้างไม๊ครับ ทุกท่านที่เอาแต่ซ่อม น้องๆช่างใหม่ทุกท่าน ได้ค่อยมีเวลาที่จะอยากรู้อยากเห็นอะไรแบบผมบ้างหรือเปล่า แต่ถ้าไม่มีเวลาหละก้อ แวะมาดูกันตรงนี้ชัดๆ ว่าใน Coil หรือเจ้า L ที่ใช้อยู่ในระบบภาคไฟของโน๊ตบุ๊คนั้น โครงสร้างภายในจะเป็นเช่นไร
- Coil ที่อยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค จะเป็นแบบแกนอากาศ ครับ คือพันรอบตัวเองแบบในรูปด้านล่างนี้ ทำหน้าที่ร่วมกับ Mosfet เป็นแบบวงจรสวิชชิ่งความถี่สูง
- ผู้เขียนได้ถ่ายจากบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค และได้แกะออกให้ดูโครงสร้างภายใน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้เรียนรู้นะครับ
- ส่วนกรณีของคอลย์ประเภทที่มีการพันรอบแกน ส่วนใหญ่จะใช้ในวงจรภาคไฟ ที่ถูกนำไปทำหน้าที่ในการฟิลเตอร์(Filter)ความถี่สูงมากกว่าครับ เราจะเรียกคอลย์ประเภทนี้ว่า “โช๊ค”
- จากรูปด้านล่างนี้ รูปแรก,รูปที่สองและรูปที่สี่ จะเป็นคอลย์ที่พันแบบไม่มีแกนใช้ในเมนบอร์ดพีซี ส่วนรูปที่สามเป็นคอลย์ที่นำไปใช้ในวงจรสวิชชิ่งของโน๊ตบุ๊ค
- การที่จะบอกว่านำคอลย์ไปใช้ทำหน้าที่อะไรนั้น คงต้องดูลักษณะของการต่อวงจร หรือนำคอลย์นั้นไปต่อใช้งานครับ ซึ่งหากได้นำคอลย์ไปต่อให้ไฟไหลผ่านโดยไม่มีการทำงานร่วมกับทรานซิสเตอร์ หรือมอสเฟต ส่วนใหญ่จะเป็นการทำฟิลเตอร์ความถี่สูง เพื่อไม่ให้มีสัญญาณความถี่สูงไปรบกวนการทำงานในกระแสไฟนะครับ
- แต่ถ้ามีการนำคอลย์ไปต่อให้กระแสไฟไหลผ่าน และมีการทำงานร่วมกับ ทรานซิสเตอร์และหรือมอสเฟตแล้วหละก้อ นั่นหมายถึงเป็นการนำคอลย์ไปทำหน้าที่เป็นวงจรในสวิชชิ่งของระบบไฟ เพื่อจ่ายให้แก่วงจรนั่นเองครับ
หากมีข้อสงสัย ข้อคิดเห็น สอบถามปัญหา อาการเสีย เชิญที่ Webboard นะครับ
Leave a Reply