• สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน สำหรับบทความในคราวนี้  เราจะมาเรียนรู้ถึงวิธีการตรวจเช็ค //ซ่อม กับอาการเสียของเจ้า wireless lan ที่เราลงไดร์เวอร์ผ่านแล้ว มีรูปไอคอนเกิดแล้ว ไดร์เวอร์ก็ถูกเห็นใน Device manager แล้ว  แต่เราไม่สามารถกดสวิทช์คำสั่งให้ On/Off ได้
  • กล่าวอีกครั้งว่า..เราลงไดร์เวอร์ให้ไวร์เรสในเครื่องคอมเราได้เรียบร้อยแล้ว และสถานะก็ไม่ได้เป็น disable ด้วย  แต่สถานะเป็นตามรูปด้านล่างนี้ ซึ่งถือว่า wireless ยังไม่ถูกเปิดใช้งาน (power on) ซึ่งผู้ใช้ทั่วไปอาจต้องทำการเปิดขึ้นใช้เอง  ไม่ว่าจะเป็นการกดปุ่ม FN ที่ keyboard ร่วมกับปุ่ม F? ก็แล้วแต่ (ซึ่งขึ้นอยู่กับโน๊ตบุ๊ครุ่นนั้น)    บางรุ่น บางยี่ห้อ ก็ใช้คำสั่งทาง Software เป็นตัวเปิด บางยี่ห้อ บางรุ่นก็ใช้ สวิทช์หน้าเครื่องเป็นตัวเปิด ปิด  บางยี่ห้อ บางรุ่น ก็ใช้ การกด แตะ สัมผัส ที่ตำแหน่งบนคีย์บอร์ด เพียงครั้งเดียวก็เป็นการเปิดการปิด ตำแหน่งของ Wireless Power On ตรงนี้ได้

wireless status3

ภาพแสดงสถานะการที่ wireless ยังไม่ถูกเปิดใช้งาน(Power On)

Wlan-Dis4

ภาพตำแหน่งสวิทช์ เปิดปิด wireless lan ของแท่นเครื่อง Lenovo Z470

ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่สามารถไปตอบโจกท์ได้ทุกกรณี สำหรับโน๊ตบุ๊คของลูกค้า ของผู้สนใจในบทความในทุกๆเครื่องหรอกนะครับ

  • ส่วนสถานะของสัญญาณไวเรส ในรูปแบบต่างๆ ที่เราจะเห็นกัน ได้แก่ภาพตามรูปด้านล่างอีกสองรูปนี้แหละ  ที่เห็นๆ กันโดยทั่วไป  ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายความหมายใต้ภาพให้ทราบกันแล้วนะครับ

wireless status1

ภาพสถานะ wireless ยังถูกเปิดใช้งานแล้ว(Power On) แต่ยังไม่มีการ connect กับสถานีwireless

wireless status2

ภาพสถานะการที่ wireless ถูกเปิดใช้งาน(Power On) และ connect กับสถานี wireless แล้ว

  • ทีนี้มาถึงการซ่อมตามหัวข้อที่เกริ่นนำไปครับ  ซึ่งได้แก่การที่สถานะของไวเรสเป็นกากบาทสีแดง  และปัญหาไม่ใช่ที่ไดร์เวอร์หรือตัวไวร์เรสตัวนั้นๆ  แต่ปัญหามันไปเป็นที่เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คของเรานั่นเอง…

แนวทางการซ่อมในลักษณะของอาการ On/Off Wire less ไม่ได้ ทำให้เกิดเป็น กากบาทสีแดงที่สถานะสัญญาณ

ผู้เขียนใช้แท่นเครื่อง Lenovo Z470 ซึ่งเกิดอาการนี้ขึ้นจริง  และผู้เขียนได้ทำการแก้ปัญหานี้ได้แล้ว จึงยกมาเป็นตัวอย่างในการแนะนำ

Wlan-con

จากภาพด้านบน เป็นภาพของตำแหน่งที่สำคัญของ ขาตำแหน่งที่สำคัญในการตรวจซ่อม wireless ที่จำเป็นต้องทราบ  ดังนี้

ขาที่เป็นเรื่องของไฟเลี้ยง ดังนี้

  • ขา 2 ,24 ,52 ต้องมีไฟ 3.3 V_WLAN
  • ขา 6,26,48 ต้องมีไฟ 1.5 V_WLAN
  • ขา 39,41 ต้องมีไฟ 3.3 V_WLAN

ขาคำสั่งที่ควรตรวจสอบ ดังนี้

  • ขา 20 WLAN_OFF ซึ่งขานี้เป็นคำสั่งในการ ON, Off ตัว Wireless ที่สำคัญเลยหละ…เพราะเจ้าขานี้จะมี Logic เป็นดังนี้
  • ถ้า Logic เป็น HI คือมีไฟเลี้ยงวงจรอยู่ 3.3 V. wireless จะมีสถานะ On  ซึ่งจะทำให้ได้รูปสถานะดังภาพด้านล่าง
  • wireless status1

 

  • แต่ถ้า ได้ Logic เป็น LO คือ ไฟเลี้ยงหายไปหมด กลายเป็น ศุนย์โวลท์ นั่นจะทำให้สถานะเป็น Off ทำให้ได้ภาพตามด้านล่าง

wireless status3

 

ส่วนที่ว่าคำสั่งในการทำให้เกิดการ Disable นั้น  จะได้มาจาก South bridge สำหรับตามรูปด้านล่างนี้จะได้มาจากขา C4 ซึ่งจะมีไฟ 3.3 V. ที่ตำแหน่งขานี้Wlan-Dis1

 

  • ส่วนตำแหน่งคำสั่ง RF On/OFF Switch นั้นจะมีหน้าที่ในการดึง คำสั่ง RF_SW ลงกราวด์(เวลาทำงานในสถานะ On ตำแหน่งสวิทช์จะถูกเลื่อนมาที่ขา กลาง กับ ขา 1) จึงเป็นผลทำให้ไฟ +3V_S5 ถูกดึงลงกราวด์ไป ให้เป็นคำสั่งนี้ทำงานได้  ซึ่งผลของคำสั่งนี้จะทำให้ IO Controller รับทราบถึงการ On / Off ในตำแหน่งของ Wireless นี้ นั่นเอง

Wlan-Dis2

  • รูปด้านล่างนี้  แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งของ RF_SW ที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับขาที่ 83 ของ IO Controller เบอร์นี้(IT8518)

Wlan-Dis3

เพื่อนๆ ครับ การตรวจซ่อมในรายละเอียดข้างต้น  ถือเป็นแนวทางในการดำเนินการในแบบวิธีที่จะนำไปใช้ประยุกต์ในการซ่อมในเครื่องยี่ห้อ รุ่นอื่นๆ ได้เช่นกันครับ  ดังนั้น  การตรวจซ่อมในลักษณะอาการเสียที่เหมือนๆกัน  เพื่อนก็ไม่จำเป็นต้องเรียกร้องหาวงจร Schematic ให้เสียเวลาหรอกครับ   แนะนำให้เพื่อนๆ ทำการจดจำวงจรนั้นๆให้ขึ้นใจ  และเพื่อนๆ จะสามารถมีความเข้าใจในการตรวจซ่อม  การวิเคราะห์ลักษณะอาการเสียในรูปแบบต่างได้ด้วยตนเองนั่นเองครับ