ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ..

  • สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน ห่างเหินกันไปนานมากเลย ที่ทางผมไม่ค่อยได้มาเขียนบทความให้เพื่อนๆและผู้สนใจได้รับทราบกัน แต่ในวันนี้ผมได้มีบทความดีๆอีกเช่นเคยที่จะนำเสนอต่อเพื่อนสมาชิกทุกท่านให้รับทราบเป็นความรู้และแนวทางกัน ดังหัวเรื่อง “ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ”
  • มีเรื่องเปรียบเปยให้ฟังเล่นๆ อย่าซีเรียสกันนะครับ…”เขาบอกว่า ช่างที่อยู่ในแหล่งการซ่อมที่มีเครื่องเข้ามาจำนวนมากๆ เขาจะไม่ค่อยจะสนใจในเรื่องของการอ่าน หรือไล่ทางไฟ ทางสัญญาณกันในวงจรกันหรอกครับ เพราะเขาจะถือว่าไร้สาระ… มัวแต่มานั่งไล่ทางไฟ ก็วันหนึ่งคงได้ไม่ถึงสองเครื่องหรอก    ท่านเหล่านั้น เมื่อได้รับเครื่องเข้ามา  เขาก็จะดูจากอาการ แล้วก็ตีสรุปวัดดวงด้วยประสบการณ์ที่สะสมมาอย่างโชคโชนในชีวิตการซ่อม  …เช่น อาการไฟจ่ายปรกติ  แต่ภาพไม่ขึ้น  เขาก็ไม่สนใจจะไล่ดูว่าไฟมาครบหรือไม่ครบหรอก…เขาก็นำไปอบ Southbridge พออบแล้วไม่เกิด…เขาก็ถอดออกไป Reball ตะกั่วกันใหม่  …พอไม่เกิด …เขาก็เอาชิพตัวนั้นอกไปลองวางที่เครื่องอื่น(คือเขาอาจมีเครื่องต้นแบบเยอะ) แล้วปรากฏว่าวางเครื่องอื่นผ่าน  ก็ทำให้ท่านเหล่านั้น หันเหความสนใจ ไปมุ่งที่ชิพตัวอื่นแทน แล้วก็ทำแบบเดิมอีก…ไปเรื่อยๆ  พอไม่ผ่านจริงๆ แล้ว ก็บอกว่าซ่อมไม่ได้ ส่งคืนลูกค้า”
  • ซึ่งในความเป็นจริงของหลักการซ่อมแล้วนั้น  เมื่อเครื่องที่ได้รับซ่อมเข้ามา ลูกค้าจะแจ้งอาการเสีย ผู้ซ่อมก็จะต้องทำการเปิดทดลองดูว่าเป็นจริงตามแจ้งหรือไม่  และควรดูเรื่องการแตกหักเสียหาย ไหม้ ฯลฯ มีการวัดแรงไฟในจุดต่างๆ ของบอร์ด เพื่อดูความพร้อมของระบบไฟ จะได้ไม่ผิดพลาด
  • เรื่องก็จะมีอยู่ว่าช่างใหม่ช่างเก่าที่จะเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดที่ดีมีความเข้าใจในส่วนโครงสร้างการทำงานขเมนบอร์ดในภาคการทำงานต่างๆให้ดีด้วย อาจดีในระดับหนึ่ง หรือไม่ต้องมากก็ได้ แต่ต้องดูแล้วให้เข้าใจ ว่า สัญญาลักษณ์นั้นๆคือตัวอุปกรณ์ใด มีการต่อจากจุดไหน ไปจุดไหน ผ่านอะไรบ้าง  มีแรงไฟในแต่ละจุดกีโวลท์  มีสัญญาณ(signal) กีเฮิร์ท ในแต่ละจุดมันทำงานได้เลยไม๊ หรือว่าต้องมีคำสั่งจากที่ไหนมาสั่งให้มันทำงาน  และหรือว่าหลักการทำงานของมันนั้นจะเกิดขึ้นได้มันมีขั้น มีตอนอย่างไร ฯลฯ  และความสำคัญอีกหลายๆ เรื่องที่ผมอาจไม่ได้นำมาแจงตรงนี้  แต่ก็โดยสรุปแล้ว มันมีประโยชน์อย่างมากๆ ครับ

 

  • จากตัวอย่างวงจรของ ด้านบนนี้  เราจะเห็นถึง การนำสัญญาลักษณ์ของอุปกรณ์อิเล็คมาเชื่อมต่อกันให้เป็นขั้นตอนการทำงาน ตามคุณสมบัติ และหน้าที่ของอุปกรณ์นั้นๆครับ  เช่นตำแหน่ง J_RTC1 จะเป็นขั้วคอนเน็คเตอร์สำหรับเสียบถ่าน CMOS Backup เราจะเห็นว่ามีสองขั้ว ขั้วตำแหน่งที่ 1 เป็นไฟบวก ซึ่งจะมีไฟเลี้ยงอยู่ 3 โวลท์(ข้อมูลของ Litium CR2032) จ่ายกระแสผ่าน R528  และผ่าน ไดโอดตัวนึง ฯลฯ ประมาณ นั้น  และอย่างเช่น ขาที่สองของขั้วถ่าน จะถูกต่อลงกราวด์ ฯ อย่างนี้เป็นต้นครับ
  • เวลาที่เกิดอาการเสียเกิดขึ้น  เราไปมองในวงจร เราก็ต้องอึ้ง เพราะบางที ขาแต่ละขา มันไม่ได้ลากโยงกันให้เห็นบนเมนบอร์ด แต่มันจะดำดิ่งหายไป และโผ่ลด้านหลังบ้าง ….ไปโผล่กันไกลๆบ้าง ,,ทำให้เราไม่สามารถที่จะหาตัวเสียได้อย่างเร็ว  แต่พอได้มาไล่ทาง schematic กันดู เราก็จะร้องอ๋อ ได้ทันที เพราะเห็นว่า ตัวนั้น ตัวนั้น ต่อกันอย่างไร  ทั้งๆที่บนบอร์ดจริง ลายวงจรมันดิ่งหายไป  อย่างนี้เป็นต้นนะครับ…
  • สรุปก็คือ  การเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คที่ดี และเก่ง นอกจากประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละท่านแล้ว  ก็ยังต้องอาศัยวงจร เป็นส่วนของการช่วยในการวิเคราะห์เส้นทาง และการทำงาน รวมถึงหาอุปกรณ์ที่เราอาจมองไม่เห็นได้จากตำแหน่งจริงได้  ดังนั้น ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เพื่อนสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านคงให้ความสำคัญต่อการอ่านวงจรกันให้มากขึ้นนะครับ…เพราะว่ามันเป็นของคู่กันของช่างซ่อมอย่างเราๆครับผม…

คลิ๊กที่นี่ เพื่อ download schematic notebook all brand 1 GB.