Posts Tagged ‘schematic’

การอ่านวงจร(Schematic) เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค(ตอนที่1) เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์/ซ่อม mainboard

เพื่อนๆและท่านผู้สนใจในบทความจาก repair-notebook.com ทุกท่านครับ  การจะเป็นช่างซ่อมที่เก่งได้จะต้องประกอบไปด้วยหลายๆปัจจัย  ไม่ใช่ว่าใครต่อใครจะเรียนรู้กัน 3วัน7วัน แล้วก็เป็นแล้วก็เก่ง ไปเปิดร้าน เอาตัวรอด ซ่อมเมนบอร์ดกันแบบฝีมือ (ไม่มีคร๊าบ) ประสบการณ์ ความผิดพลาด การเรียนรู้ ความอยากรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด  ความเป็นมืออาชีพ ความเก๋า ความแก่(วัยวุฒิ) ความแก่ในวิชาชีพนั้นๆ หลายๆสิ่งหลายๆอย่าง ต้องประกอบเข้าด้วยกัน ถึงจะมีความฉมังในการทำอาชีพช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คได้อย่างเก่งฉกาจครับ สำหรับวันนี้ repair-notebook.com ขอนำเรื่องของวงจร (Schematic) มากล่าวกันในที่นี้เพื่อหลายๆท่านจะได้เกิดความเข้าใจว่า มันทำประโยชน์อย่งไรได้บ้าง วงจร (schematic) รุปด้านบนนี้แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์ในส่วนต่างๆ ทำให้เราทราบว่า สิ่งใดเชื่อมต่อกับสิ่งใด  อาทิ เช่น ตำแหน่ง Intel Ivy bridge ก็คือ CPU นั่นเอง  จะทำการเชื่อมต่อสื่อสารกันกับ DDR3 (RAM) และ Nvidia N13M  ดังนั้นในเวลาที่ลักษณะอาการเสียเกิดขึ้นเช่น เปิดติด แต่ไม่มีภาพขึ้น  เราก็อาจจะดูแลในส่วนของ CPU กับ RAM […]

Leave a Comment

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด: การดูบล๊อกไดอะแกรม (Block Diagram)วงจรโน๊ตบุ๊ค

ระบบไฟที่แหล่งจ่าย  จาก Adaptor , Battery pack จ่ายให้แก่วงจรภาคไฟชุดต่างๆในเมนบอร์ดนั้น  มีความจำที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้ดียิ่ง เพราะจะเป็นเส้นทางในการวิเคราะห์ในด้านระบบไฟ   บล๊อกไดอะแกรมในแต่ละยี่ห้อ คงไม่แตกต่างกันมากนัก  ที่ทีมงาน ซ่อมได้ ดอทคอม ได้นำมาแนะนำ ก็ถือเป็นบล๊อกภาคไฟหนึ่งที่ดูง่าย ซึ่งทีมงานขอถือเป็นแนวทางในการเรียนในหน้าเว๊ปก็แล้วกันนะครับ ชิก repair-notebook.com ทุกท่าน  วันนี้ผมขอ update ความรู้ด้านการซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค โดยจะขอพูดเกี่ยวกับบล๊อกไดอะแกรม (block diagram) ของโน๊ตบุ๊คโดยรวม ว่ามีแนวทางและทิศทางไปในทางใดกันนะครับ  รูปด้านล่างนี้ ผู้เขียนขอใช้บล๊อกไดอะแกรมของ Toshiba L500 มาเป็นแม่แบบในการอธิบายครับ บล๊อกภาคไฟของ Standby ไฟจาก Adaptor วิ่งเข้าสู่เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค โดยผ่านบล๊อกของ Fuse เข้าสู่บล๊อกของวงจรชาร์จแบตเตอรี่ (charger)  เพื่อนำกระแสไฟไปประจุหรือชาร์จให้แก่แบตเตอรี่แพ็คของโน๊ตบุ๊ค ไฟจาก Adaptor ส่วนหนึ่งก็วิ่งไปเข้าสู่วงจรชาร์จตามที่ผมได้กล่าวไว้ในข้างต้น  และกระแสไฟส่วนหนึ่งก็จะไหลผ่านเข้าสู่วงจรในบล๊อกส่วนต่างๆ ซึ่งที่เห็นในรูป ก็จะวิ่งเข้าสู่วงจร “Stand by” 3.3 v. และ 5 v. […]

Leave a Comment

RTC Clear:Acer 4740,4736,4735,4925 ตำแหน่งเคลีย์ CMOS

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิก repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้ผมได้นำบทความรู้ที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาของผู้ใช้ที่หลงๆลืมๆเกี่ยวกับ password bios ที่ได้ตั้งไว้ (ชอบตั้งกันไว้ไม่ให้คนอื่นมาใช้คอมเรา) และผลที่ได้คืออะไรรู้ไม๊ครับ ?   เพื่อนๆก็ลืมกันเองว่าชั้นตั้งรหัสอะไรไว้นั่นเองครับ จริงๆแล้ว บทความที่ผมเขียนนี้มันอาจไม่ใหม่เกินไปสำหรับทุกท่านที่ใช้โน๊ตบุ๊ค  แต่มันจะเป็นประโยชน์และความรู้เล็กๆน้อยๆ สำหรับผู้ที่เข้ามาศึกษา หรือหาข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาของการลืมพาสเวิร์ดกันนะครับ สำหรับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มยี่ห้อเอเซอร์ Acer เท่าๆที่สังเกตุมา เขาจะวางจุดสำหรับเคลีย CMOS ไว้เพื่อผู้ใช้ได้แก้ไขปัญหาด้วยตนเองอยู่แล้วครับ  ดังตัวอย่างที่ผมนำมาลงให้จะเห็นว่า ใน 3 แท่นเครื่องนี้จะมีการวางจุด Clear CMOS ไว้ใต้ฐานแรม หรือในวงจร(Schematic) จะเรียกว่า RAM Door ครับ เหตุที่เขาทำตำแหน่งเคลียไว้ก็เพราะว่า ผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นตำแหน่ง RTC Batt ซึ่งวางอยู่ด้านในเครื่องได้ ทำให้ลำบากต่อการถอดถ่าน 3โวลท์ที่เป็นแบ๊คอัพของ CMOS จึงต้องทำตำแหน่งเคลียรองรับไว้ให้นั่นเองครับ

Comments Off on RTC Clear:Acer 4740,4736,4735,4925 ตำแหน่งเคลีย์ CMOS

อาการเสีย error: NVRAM Space Full Acer 4551,4551G

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก Repair-Notebook.com ทุกท่าน วันที่เขี่ยนบทความนี้เป็นวันที่ 14/12/2555 ซึ่งเหลืออีก 16 วันก็จะสิ้นปี 2555 แล้วครับ ? ผมก็ไม่ค่อยมีเวลามาอัพเดรทความรู้กับเพื่อนๆกันมากเท่าไหร่เลย รู้ตัวว่าผิด…(ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ) เนื่องจากงานสอนออนไลน์ และเดินทางไปลงพื้นที่แก่เพื่อนสมาชิกร้านค้า ตลอดเวลา ?วันนี้เลยนำความรู้ด้านการซ่อมมาฝากหนึ่งบทความเป็นอาการเสียจากการซ่อมที่เพื่อนๆสมาชิกทั่วๆไปอาจทำได้เลยครับ ?เรามาดูอาการที่เกิดขึ้นก่อนครับ ตัวหัวข้อของบทความเลยครับ ? เป็นเครื่องยี่ห้อ Acerรุ่น 4551 , 4551G ที่ส่งมาซ่อมและมีอาการ Error: NVRAM Space Full ?อาการเสียเป็นตามรู้ด้านล่างที่ผมแนบมาให้ดูนะครับ

Comments Off on อาการเสีย error: NVRAM Space Full Acer 4551,4551G

ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ..

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน ห่างเหินกันไปนานมากเลย ที่ทางผมไม่ค่อยได้มาเขียนบทความให้เพื่อนๆและผู้สนใจได้รับทราบกัน แต่ในวันนี้ผมได้มีบทความดีๆอีกเช่นเคยที่จะนำเสนอต่อเพื่อนสมาชิกทุกท่านให้รับทราบเป็นความรู้และแนวทางกัน ดังหัวเรื่อง “ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ” มีเรื่องเปรียบเปยให้ฟังเล่นๆ อย่าซีเรียสกันนะครับ…”เขาบอกว่า ช่างที่อยู่ในแหล่งการซ่อมที่มีเครื่องเข้ามาจำนวนมากๆ เขาจะไม่ค่อยจะสนใจในเรื่องของการอ่าน หรือไล่ทางไฟ ทางสัญญาณกันในวงจรกันหรอกครับ เพราะเขาจะถือว่าไร้สาระ… มัวแต่มานั่งไล่ทางไฟ ก็วันหนึ่งคงได้ไม่ถึงสองเครื่องหรอก ? ?ท่านเหล่านั้น เมื่อได้รับเครื่องเข้ามา ?เขาก็จะดูจากอาการ แล้วก็ตีสรุปวัดดวงด้วยประสบการณ์ที่สะสมมาอย่างโชคโชนในชีวิตการซ่อม ?…เช่น อาการไฟจ่ายปรกติ ?แต่ภาพไม่ขึ้น ?เขาก็ไม่สนใจจะไล่ดูว่าไฟมาครบหรือไม่ครบหรอก…เขาก็นำไปอบ Southbridge พออบแล้วไม่เกิด…เขาก็ถอดออกไป Reball ตะกั่วกันใหม่ ?…พอไม่เกิด …เขาก็เอาชิพตัวนั้นอกไปลองวางที่เครื่องอื่น(คือเขาอาจมีเครื่องต้นแบบเยอะ) แล้วปรากฏว่าวางเครื่องอื่นผ่าน ?ก็ทำให้ท่านเหล่านั้น หันเหความสนใจ ไปมุ่งที่ชิพตัวอื่นแทน แล้วก็ทำแบบเดิมอีก…ไปเรื่อยๆ ?พอไม่ผ่านจริงๆ แล้ว ก็บอกว่าซ่อมไม่ได้ ส่งคืนลูกค้า” ซึ่งในความเป็นจริงของหลักการซ่อมแล้วนั้น ?เมื่อเครื่องที่ได้รับซ่อมเข้ามา ลูกค้าจะแจ้งอาการเสีย ผู้ซ่อมก็จะต้องทำการเปิดทดลองดูว่าเป็นจริงตามแจ้งหรือไม่ ?และควรดูเรื่องการแตกหักเสียหาย ไหม้ ฯลฯ มีการวัดแรงไฟในจุดต่างๆ ของบอร์ด เพื่อดูความพร้อมของระบบไฟ จะได้ไม่ผิดพลาด […]

Comments Off on ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ..