Posts Tagged ‘vcore’

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : อาการเปิดไม่ติด ไฟไม่เข้า เจอสองเด้ง…

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก และท่านผู้สนใจในความรู้ด้านการเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คทุกๆท่าน   วันนี้ www.repair-notebook.com ได้เปิดคลังความรู้ให้ผู้สนใจทุกท่านได้เรียนรู้เป็นแนวทางและนำไปสู่การต่อยอดในการเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค เพื่อเป็นอาชีพ กันต่อไปครับ หัวข้อของบทความในครั้งนี้ ได้เขียนไว้ว่า “อาการเปิดไม่ติด ไฟไม่เข้า  เจอสองเด้ง”  มันเป็นยังไง ลองมาอ่านบทความกันดูนะครับ Mainboard Acer 4750G ของลูกค้าที่เป็นร้านซ่อมคอมฯ แต่ได้ส่งงจากหาดใหญ่ให้ทาง www.repair-notebook.com เป็นผู้ซ่อมให้ประจำกันนั้น  มีอาการในการส่งมาครั้งแรกในเดือน 6/2558 ด้วยอาการเปิดไม่ติด แนวทางในการตรวจเช็ค ก็มุ่งเน้นไปที่กรณีเปิดไม่ติดนั้น เพราะว่าไฟ 19 โวลท์ จาก อะแดปเตอร์ไม่สามารถผ่านเข้าบอร์ดได้  ก็เลยตรวจเช็คไปเจอตัว Zener Diode ที่หลังคอนเน็คเตอร์ของ DC in เกิดช้อต  ก็ทำให้งานซ่อมนี้จบไปด้วยเวลาเพียง 5 นาที  จากนั้นก็ทำการส่งกลับไปยังหาดใหญ่ หลังจากนั้นต่อมา ประมาณ 15 วันเห็นจะได้  เครื่องนี้ก็ถูกส่งมาให้ซ่อมซ้ำอาการเดิมอีก  ทาง www.repair-notebook.com ก็เลยต้องขออะแดปเตอร์ของลูกค้ามาด้วย เพื่อจะได้ตรวจเช็คว่า อะแดปเตอร์มีแรงดันไฟคงที่ หรือสวิงเปลี่ยนแปลงตลอดหรือไม่ เมื่อได้รับบอร์ดและอะแดปเตอร์เข้ามาแล้ว […]

Comments (6)

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด: การดูบล๊อกไดอะแกรม (Block Diagram)วงจรโน๊ตบุ๊ค

ระบบไฟที่แหล่งจ่าย  จาก Adaptor , Battery pack จ่ายให้แก่วงจรภาคไฟชุดต่างๆในเมนบอร์ดนั้น  มีความจำที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้ดียิ่ง เพราะจะเป็นเส้นทางในการวิเคราะห์ในด้านระบบไฟ   บล๊อกไดอะแกรมในแต่ละยี่ห้อ คงไม่แตกต่างกันมากนัก  ที่ทีมงาน ซ่อมได้ ดอทคอม ได้นำมาแนะนำ ก็ถือเป็นบล๊อกภาคไฟหนึ่งที่ดูง่าย ซึ่งทีมงานขอถือเป็นแนวทางในการเรียนในหน้าเว๊ปก็แล้วกันนะครับ ชิก repair-notebook.com ทุกท่าน  วันนี้ผมขอ update ความรู้ด้านการซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค โดยจะขอพูดเกี่ยวกับบล๊อกไดอะแกรม (block diagram) ของโน๊ตบุ๊คโดยรวม ว่ามีแนวทางและทิศทางไปในทางใดกันนะครับ  รูปด้านล่างนี้ ผู้เขียนขอใช้บล๊อกไดอะแกรมของ Toshiba L500 มาเป็นแม่แบบในการอธิบายครับ บล๊อกภาคไฟของ Standby ไฟจาก Adaptor วิ่งเข้าสู่เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค โดยผ่านบล๊อกของ Fuse เข้าสู่บล๊อกของวงจรชาร์จแบตเตอรี่ (charger)  เพื่อนำกระแสไฟไปประจุหรือชาร์จให้แก่แบตเตอรี่แพ็คของโน๊ตบุ๊ค ไฟจาก Adaptor ส่วนหนึ่งก็วิ่งไปเข้าสู่วงจรชาร์จตามที่ผมได้กล่าวไว้ในข้างต้น  และกระแสไฟส่วนหนึ่งก็จะไหลผ่านเข้าสู่วงจรในบล๊อกส่วนต่างๆ ซึ่งที่เห็นในรูป ก็จะวิ่งเข้าสู่วงจร “Stand by” 3.3 v. และ 5 v. […]

Leave a Comment

ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ..

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน ห่างเหินกันไปนานมากเลย ที่ทางผมไม่ค่อยได้มาเขียนบทความให้เพื่อนๆและผู้สนใจได้รับทราบกัน แต่ในวันนี้ผมได้มีบทความดีๆอีกเช่นเคยที่จะนำเสนอต่อเพื่อนสมาชิกทุกท่านให้รับทราบเป็นความรู้และแนวทางกัน ดังหัวเรื่อง “ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ” มีเรื่องเปรียบเปยให้ฟังเล่นๆ อย่าซีเรียสกันนะครับ…”เขาบอกว่า ช่างที่อยู่ในแหล่งการซ่อมที่มีเครื่องเข้ามาจำนวนมากๆ เขาจะไม่ค่อยจะสนใจในเรื่องของการอ่าน หรือไล่ทางไฟ ทางสัญญาณกันในวงจรกันหรอกครับ เพราะเขาจะถือว่าไร้สาระ… มัวแต่มานั่งไล่ทางไฟ ก็วันหนึ่งคงได้ไม่ถึงสองเครื่องหรอก ? ?ท่านเหล่านั้น เมื่อได้รับเครื่องเข้ามา ?เขาก็จะดูจากอาการ แล้วก็ตีสรุปวัดดวงด้วยประสบการณ์ที่สะสมมาอย่างโชคโชนในชีวิตการซ่อม ?…เช่น อาการไฟจ่ายปรกติ ?แต่ภาพไม่ขึ้น ?เขาก็ไม่สนใจจะไล่ดูว่าไฟมาครบหรือไม่ครบหรอก…เขาก็นำไปอบ Southbridge พออบแล้วไม่เกิด…เขาก็ถอดออกไป Reball ตะกั่วกันใหม่ ?…พอไม่เกิด …เขาก็เอาชิพตัวนั้นอกไปลองวางที่เครื่องอื่น(คือเขาอาจมีเครื่องต้นแบบเยอะ) แล้วปรากฏว่าวางเครื่องอื่นผ่าน ?ก็ทำให้ท่านเหล่านั้น หันเหความสนใจ ไปมุ่งที่ชิพตัวอื่นแทน แล้วก็ทำแบบเดิมอีก…ไปเรื่อยๆ ?พอไม่ผ่านจริงๆ แล้ว ก็บอกว่าซ่อมไม่ได้ ส่งคืนลูกค้า” ซึ่งในความเป็นจริงของหลักการซ่อมแล้วนั้น ?เมื่อเครื่องที่ได้รับซ่อมเข้ามา ลูกค้าจะแจ้งอาการเสีย ผู้ซ่อมก็จะต้องทำการเปิดทดลองดูว่าเป็นจริงตามแจ้งหรือไม่ ?และควรดูเรื่องการแตกหักเสียหาย ไหม้ ฯลฯ มีการวัดแรงไฟในจุดต่างๆ ของบอร์ด เพื่อดูความพร้อมของระบบไฟ จะได้ไม่ผิดพลาด […]

Comments Off on ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ..