อาการเสีย Acer 4736(LA-4494P) ติด-ดับ เข้าวินโดว์ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ค้างบ้าง
- สวัสดีครับเพื่อนสมาชิก repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้ผมได้นำอาการเสียของโน๊ตบุ๊คยี่ห้อ Acer รุ่น 4736 ซึ่งในตระกูลนี้จะมีตัวอักษรต่อท้ายยังไงหรือไม่ก็แล้วแต่ครับ ?อาการเสียประจำของเครื่องนี้ ตามที่ผมได้ขึ้นหัวข้อของ Blog ไว้ก็คือ”Acer 4736 ติด-ดับ เข้าวินโดว์ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ค้างบ้าง” ซึ่งถือว่าเป็นอาการบั๊ก(Bug)ของเครื่องกันเลยนะครับ ประมาณว่าคล้ายๆกับยี่ห้อโตชิบ้า ที่มีบั๊กตัวเดียวกันนั่นเองครับ
- ACER Aspire 4736-652G32Mn/C032
- CPU:Intel Core 2 Duo T6500 (2.10 GHz, 2 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)
- VGA:Intel GMA 4500M HD
- RAM:2 GB DDR2
- HDD:320 GB 5400 RPM
อาการเสีย
- Acer 4736 ติด-ดับ เข้าวินโดว์ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ค้างบ้าง
วิธีการแก้ไขปัญหาอาการเสียนี้ ?
- ไม่มีอะไรจะปิดบังครับ…ส่วนมากแล้ว(เปอร์เซ็นต์สูงมากๆที่ซ่อมแล้วหาย) คือการเปลี่ยน Capacitor ที่เป็นยี่ห้อ NECTokin ครับ เจ้าตัวนี้ผมได้เคยเขียนบทความให้อ่านกันแล้วนะครับ ลองๆหาอ่านดูเพิ่มเติมใน repair-notebook.com นี้กันนะครับ
- ส่วนวิธีการเปลี่ยนนั้น หากต้องการเปลี่ยนเป็นเจ้า Tokin แบบแท้ๆกันเลยนั้น เพื่อนสมาชิกคงต้องมีเครื่องยกชิพ BGA Rework ที่สามารถถอดเปลี่ยนชิพได้นั่นเองครับ ?แต่ก็คงไม่คุ้มครับ ?เพราะเราเป็นช่างแบบไทยๆ ชอบโม ชอบแก้ไข ดัดแปลง เราก็เลยใช้วิธีการนำ C (Capacitor) แบบที่ใช้ในเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค ?ไม่ว่าเพื่อนสมาชิกจะซื้อหามา หรือมีอะไหล่เก่า ก็นำมาใช้ได้(จริงๆ เพื่อนๆ ต้องตรวจวัดค่าความจุของ C ที่จะนำมาใช้ด้วยนะครับ อีกเรื่องนึงที่สำคัญคือ C ที่ถอดมาหรือหยิบมาจากที่เป็นอะไหล่เก่าต้องไม่ช้อตนะครับ ) ดูเรื่องการวัด C ได้ในบทความของเราครับ
- Tokin ค่า 907 ที่ปรากฏอยู่บนตัวของ NEC Tokin นั้นหมายถึงค่าความจุ 900uF หากเราใช้ Tokin แท้ๆ มาวางก็ต้องใช้เครื่อง BGA Rework วาง แต่หากเราต้องการจะโมดิฟลาย์ หรือดัดแปลง เราก็อาจใช้คอนเด็นเซอร์(C) ที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้น ที่มีค่าความจุ 220 uF สัก 2 ตัว และค่าความจุ 330uF อีกสองตัว ก็จะได้ค่าความจุตามที่ปรากฏบนตัว C รวมประมาณ 1100 uF (แต่ค่าในควาเป็นจริง อาจสูงกว่านี้ขึ้นไปหน่อยครับ เนื่องจากมีค่าความผิดพลาด+- ของตัวอุปกรณ์นั้น)
- เราก็อาจจะใช้การแซะฝาออกก่อน
- ทำให้ถอดแผ่นโลหะของ Tokin ที่ติดอยู่บนปริ้นออกได้ง่ายขึ้นครับ ??โดยใช้หัวแร้งที่มีหน้าตัดของปลายที่อาจแบนมากหน่อย(เนื่องจากความร้อนจะสูงกว่า ปลายแหลม) ค่อยๆ แต้มตะกั่วลงไปในปริมาณพอควร เพื่อช่วยให้การหลอมของตะกั่วเก่าดีขึ้น
- จากนั้นจึงทำการวาง C ทั้งสี่ตัวลงไปให้ครบ วางให้ถูกขั้ว บวก ลบ ?จัดให้สวยงามตามชอบใจครับ
- อย่าลืมครับว่า ?หลังวางเสร็จแล้วจะต้องทำการวัดการช้อตของ C ดูด้วยว่า ที่เราวางไว้แล้วนั้น ช้อตหรือไม่ การวัด ก็ใช้มิเตอร์ตั้ง Rx1 วัดคล่อมขั้วบวก ,ลบของ C และสลับสายวัด จากแดงเป็นดำ จากดำเป็นแดง ?ผลของการวัดทั้งสองครั้งนั้นเข็มมิเตอร์ควรจะขึ้นอ่านค่าความต้านทานได้โอมห์สูงครั้งนึง และค่าโอมห์ต่ำอีกครั้งนึง(โอมห์ต่ำนี้ต้องไม่ถึงศูนย์โอมห์นะครับ)
- แต่ถ้าวัดแล้วได้ค่าเป็นศูนย์โอมห์ทั้งสองครั้งของการวัดหละก้อ…แสดงว่าเพื่อนๆ ทำช้อตแล้วหละครับ(อย่าลืมย้อนกลับไปดูว่า C ที่ใส่นั้นช้อตเอง หรือเราบัดกรีช้อตครับ)
- จากนั้นก็ทำการเปิดทดสอบการทำงานได้เลยครับ ดูผลที่ได้ แล้วค่อยหาข้อสรุปกันอีกที ? แต่ส่วนใหญ่จะผ่านนะครับ
อาการแฝงที่อาจเกิดขึ้น
- บางเครื่องอาจมีผลถึงเรื่องการช้าของการทำงานในหน้าจอวินโดว์ได้ (ซึ่งเราก็กลับมาแก้ไขที่ ค่าของ C ตัวที่เราวางไปนั่นแหละครับ)
- สรุปก็คือ…ส่วนใหญ่จะผ่านฉลุยครับ ?มีปัญหาจุกจิกบ้าง ก็ไม่มากมายนัก ?แก้ออกได้เช่นกัน
Comments Off on อาการเสีย Acer 4736(LA-4494P) ติด-ดับ เข้าวินโดว์ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ค้างบ้าง