• ระบบไฟที่แหล่งจ่าย  จาก Adaptor , Battery pack จ่ายให้แก่วงจรภาคไฟชุดต่างๆในเมนบอร์ดนั้น  มีความจำที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้ดียิ่ง เพราะจะเป็นเส้นทางในการวิเคราะห์ในด้านระบบไฟ   บล๊อกไดอะแกรมในแต่ละยี่ห้อ คงไม่แตกต่างกันมากนัก  ที่ทีมงาน ซ่อมได้ ดอทคอม ได้นำมาแนะนำ ก็ถือเป็นบล๊อกภาคไฟหนึ่งที่ดูง่าย ซึ่งทีมงานขอถือเป็นแนวทางในการเรียนในหน้าเว๊ปก็แล้วกันนะครับ

ชิก repair-notebook.com ทุกท่าน  วันนี้ผมขอ update ความรู้ด้านการซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค โดยจะขอพูดเกี่ยวกับบล๊อกไดอะแกรม (block diagram) ของโน๊ตบุ๊คโดยรวม ว่ามีแนวทางและทิศทางไปในทางใดกันนะครับ  รูปด้านล่างนี้ ผู้เขียนขอใช้บล๊อกไดอะแกรมของ Toshiba L500 มาเป็นแม่แบบในการอธิบายครับ

block

บล๊อกภาคไฟของ Standby

  • ไฟจาก Adaptor วิ่งเข้าสู่เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค โดยผ่านบล๊อกของ Fuse เข้าสู่บล๊อกของวงจรชาร์จแบตเตอรี่ (charger)  เพื่อนำกระแสไฟไปประจุหรือชาร์จให้แก่แบตเตอรี่แพ็คของโน๊ตบุ๊ค
  • ไฟจาก Adaptor ส่วนหนึ่งก็วิ่งไปเข้าสู่วงจรชาร์จตามที่ผมได้กล่าวไว้ในข้างต้น  และกระแสไฟส่วนหนึ่งก็จะไหลผ่านเข้าสู่วงจรในบล๊อกส่วนต่างๆ
    • ซึ่งที่เห็นในรูป ก็จะวิ่งเข้าสู่วงจร “Stand by” 3.3 v. และ 5 v. ซึ่งถ้าดูตามในรูปบล๊อกในรูปข้างบนนี้  ก็คือ กรอบที่มี ตัวหนังสือเขียน เป็น  TSP 51125(Dual-Synchronous, Step-Down Controller for Notebook System Power)ซึ่งตัวนี้ก็เป็น IC Pulse หรืออาจเรียกเป็น IC regurate ก็ไม่ผิดนะครับ
    • อีกส่วนหนึ่งก็วิ่งเข้าไปที่ชุดไฟ Vcore  คือไฟเลี้ยงวงจรของ CPU โดยมี IC Pulse TPS51620 เป็นตัวควบคุมระบบไฟชุดนี้
    • อีกส่วนหนึ่งก็วิ่งเข้าไปที่ชุดไฟ  ของ RAM โดยมี IC Pulse SINGLE SYNCHRONOUS STEP-DOWN CONTROLLER TPS51117
  • กรอบของ AM3423 คือ Fet ที่จะรับคำสั่งจาก IC Pulse โดยป้อนเข้าที่ขา 4 (gate) ของ fet นั้นๆ ทำงานในลักษณะเหมือนสวิชท์อัตโนมัติ ตามความถี่ของ Pulse ที่จ่ายออกมาจาก IC  ได้เป็นแรงไฟตามกำหนด เช่น 3.3 v. หรือ อาจเป็น 5 V. ก็ได้ แรงไฟที่จะได้ไม่ว่าจะเป็นชุดแรงไฟเท่าไหร่นั้น  จะขึ้นอยู่กับ IC Pulse นั่นเอง เพราะฉะนั้น ถ้ามองในรูปบล๊อกข้างบนนี้ เราจะเห็นว่า จะมี TPS51125 สำหรับชุดไฟ 3.3 และ TPS51125 สำหรับชุดไฟ 5 v. ซึ่งทั้งสองแรงไฟนี้ออกมาจาก IC ตัวเดียวกันนั่นเอง
  • ถ้าในการทำงานของวงจร Stand by ไม่มีปัญหาใดๆ นั่นหมายถึง วงจรนี้ก็จะจ่ายไฟเลี้ยง 3.3 และ 5 V. ไปเลี้ยงในส่วนวงจรควบคุมตามที่กล่าวไว้แล้ว  แต่ถ้าวงจรชุดนี้ไม่ทำงาน  “การวิเคราะห์ในการซ่อมก็จะต้องมุ่งมาที่บล๊อกภาคไฟชุดนี้เป็นหลัก
  • การวิเคราะห์วงจรภาคไฟ Stand by หากไม่ทำงาน ก็จะต้องไปดูอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ ที่อยู่ในวงจรชุดนี้

บล๊อกภาคไฟของ Vcore

  • บล๊อกตามรูปสำหรับ Vcore หรือไฟเลี้ยง CPU จะใช้ IC Pulse TPS51620 เป็นตัวกำหนดควบคุมด้านแรงไฟที่ 1.5 V.

บล๊อกภาคไฟของ RAM

  • บล๊อกตามรูปสำหรับ RAMจะใช้IC Pulse TPS51117เป็นตัวกำหนดควบคุมด้านแรงไฟที่ 1.8 V.(1.8V. ใช้กับ DDR2)

สรุป

  • โดยรวมแล้ว  หากผู้สนใจจะเรียนซ่อมโน๊ตบุ๊คให้เข้าใจหละก้อ   ผู้เรียนจะต้องเข้าใจทั้งบล๊อกไดอะแกรมโดยรวม   , บล๊อกไดอะแกรมของภาคไฟ , วงจร (schematic)ของภาคไฟต่างๆ , การรู้จักอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชนิดต่างๆ , คุณสมบัติและรวมถึงการตรวจวัด ดี เสียของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์นั้นๆได้ ทั้งในวงจร (อยู่ในบอร์ด) และนอกวงจร (ถอดออกมาวัดข้างนอก)  การตรวจวัดไฟในขณะที่วงจรทำงาน  , การวิเคราะห์การทำงานของระบบไฟ ที่ไม่พบในตำแหน่งสำคัญของวงจร  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียน  สามารถก้าวขึ้นสู่การเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คได้นะครับ
  • อย่าลืมว่า repair-notebook.com ให้ในส่วนความรู้ และจุดประกายความรู้ ความเข้าใจแก่ทุกคน  ผู้เรียนจะต้องไปฝึกทักษะในด้านการปฏิบัติ  และฝึกฝนให้ชำนาญ  “กรุงโรมไม่ได้สร้างขึ้นภายในวันเดียว” ผู้เรียนก็จะมีฝีมือและต้องเป็นฝีในมือที่เม็ดโตๆ นั่นหมายถึง  ความรู้ที่เต็มไปด้วยประสพการณ์ นั่นเองครับ