•  สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน   ในลักษณะอาการเสียของโน๊ตบุ๊ค  ก็จะวนเวียน เป็นกันอยู่ในกลุ่มหลักๆของอาการครับ อาทิ  เปิดไม่ติด  เปิดติดไม่ขึ้นภาพ เปิดติดมีภาพ แต่เข้าวินโดว์ไม่ได้ ฯลฯ ซึ่งในการเรียนรู้  ผู้เรียนควรจะจดจำแนวทางในการวิเคราะห์และตรวจซ่อมสำหรับอาการในรูปแบบต่างๆ  ก็จะทำให้ผู้ซ่อม สามารถที่จะทำการตรวจซ่อมเครื่องโน๊ตบุ๊คในยี่ห้อ และรุ่นต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ20141120_212217
  • ตัวอย่างเช่น จากภาพด้านล่างนี้ ตัวเครื่องเป็นยี่ห้อ Toshiba รุ่น L310 อาการที่รับมาคือ เปิดไม่ติด ไฟสถานะอะแดปเตอร์ของลูกค้า ดับ
  • ในการตรวจซ่อม ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ รุ่นอะไรก็แล้วแต่  ช่างก็จะนำมาทดสอบด้วยการเสียบกับแหล่งจ่ายไฟของช่างเค้า ที่ถูกเรียกว่า Regurator พอช่างเสียบหรือจ่ายไฟเข้าโน๊ตบุ๊คแล้ว ก็ได้ดังภาพ ด้านซ้ายซึ่งบอกถึงกระแสไฟ ที่ขึ้นถึง 5.31 Amp(ปรกติควรจะ, ส่วนแรงดันไฟด้านขวา เหลือเพียง 05.4 V. (ปรกติต้องเป็น 19V)
  • การวิเคราะห์ในการณีนี้ ถือว่าเป็นการช้อตในระดับแรงไฟเลี้ยงวงจรหลัก ก็ต้องไปตามเช็คบิลกันหละครับ ว่า อาจจะมองเห็นตัวเสียเลย หรือต้องคลำหากัน หรือตรวจวัดกันด้วยวิธีการใดๆ เพื่อให้ได้เจ้าตัวช้อตนั้น เจอเมื่อไหร่ ถอดออก  ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะจบงานได้ไม๊นะครับ  บางเคสก็ปิดจบได้เลยไม่เกิน 1-2 นาที บางเคส ก็อาจยาว หรือบานปลายเลยก็มีนะครับ
  • ช่างเรียกว่า งานกินหมู  แต่บางทีก็เป็นหมูเขี้ยวตันนะครับ แล้วแต่จะโชคดี
  • สำหรับแท่นเครื่องตามรูปภาพทั้งสองภาพนี้  Toshiba L310  C ตัวสีน้ำตาลเล็ก ที่กรองกระแสไฟชุด 19 ช้อตนั่นเอง  จบง่าย1-2 นาทีจริงๆ เคสนี้ใช้สายตาสังเกตุครับ เพราะพลาสติกที่ปิดอยู่เค้าละลายนั่นเองจึงเรียกว่ากินหมูนิ่มเลยครับ

 

ภาพด้นล่าง หลังจากได้นำตัวช้อตออกจากตำแหน่งช้อตแล้ว ก็เปิดติดมีภาพได้ตามปรกติ

20141120_213033จะว่าง่ายก็ได้ครับ  จะว่ายากก็ได้  สำหรับผู้สนใจในการเรียนรูระบบภาคไฟ ไม่เพียงแต่วิธีการแบบข้างต้น แต่เป็นระบบไฟทั้งชุดทั้งหมดในเมนบรอดโน๊ตบุ๊ค  ติดต่อเรียนกับทีมงาน repair-notebook.com ได้ครับ คลิ๊กสมัครได้ที่ www.repair-notebook.com เรื่องดูครับว่าสนใจจะเรียนในรูปแบบใด