•  สวัสดีครับ เพื่อนๆและผู้สนใจในการเรียนรู้ด้านการซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คทุกท่าน  เช้าวันนี้ ขอนำบทความดีๆมาฝากในเรื่องของการซ่อมบอร์ด หากว่าวงจรมีการดึงกระแสไปมากกว่าที่ควรจะเป็น(Standby) นั่นย่อมหมายความถึง ข้อผิดพลาดของเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คนั้นๆ แล้วนะครับ

สภาวะการทำงานปรกติ ขอการดึงกระแสไฟ

  • ในหลักการทำงานของระบบไฟของโน๊ตบุ๊คในทุกๆยี่ห้อ ทุกๆรุ่น  ในเวลาที่เราจ่ายกระแสไฟ ซึ่งอาจเป็นอะแดปเตอร์ ,หรือทางช่างอาจใช้ Regulator ในการเป็นแหล่งพลังงานของเครื่องหละก้อ  ปรกติแล้ววงจรสแตนบาย (Standby) จะกินกระแสต่ำมากๆ   เพื่อรอให้ผู้ใช้กดปุ่มสวิชท์(Switch Power) และเมื่อผู้ใช้ได้กดสวิชท์เมื่อใดแล้ว  วงจรในชุดไฟต่างๆ ก็เริ่มทำงานเป้นลำดับกันไป โหลด หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ก็จะดึงกระแสไฟจากชุดไฟที่อุปกรณ์นั้นได้รับ ไปใช้งาน  เราก็จะเห็นที่หน้าปัทม์ของ Regulator มีกระแสสูงขึ้น อาจเป็น 1.XX Amp ก็ได้ ซึ่งปรกติในช่วงกระแสที่ถูกดึงไปใช้ในประมาณนี้ หน้าจอโน๊ตบุ๊คควรจะมีภาพเกิดขึ้นแล้วครับ

20141127_220827

สภาวะการทำงานที่ผิดปรกติ ของการดึงกระแสไฟ

  • สภาวะการผิดปรกติของระบบไฟของโน๊ตบุ๊ค มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป  สำหรับบทความในครั้งนี้จะนำเสนอให้เห็นถึงสภาวะของกระแสไฟที่ถูกดึงไปใช้งานที่ผิดปรกติในสแตนบาย โหมด
  • ตามรูปที่แสดงในด้านบนนี้ จะเห็นว่า ตัวเลขด้านซ้าย เป็น 0.11 Amp และตัวเลขด้านขวาคือ 19.0 V.นั่นหมายถึง วงจรกินกระแสไปใช้ในขณะที่ยังไม่ได้กดสวิทช์การทำงาน ถึง .11 Amp โดยมีแรงดันไฟจ่าย 19โวลท์ ปรกติ

แนวทางในการวิเคราะห์

  • ในลักษณะนี้ ผู้ตรวจซ่อมจะมองถึงการดึงกระแสที่ผิดปรกติในขณะที่เขาได้ป้อนแหล่งจ่ายไฟให้แก่เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค  กระแสที่ควรเป็นควรจะ ประมาณ 0.01 หรือ อาจเป็น 0.00 Amp ก็ยังถึอว่าเป็นปรกติได้ แต่ในรูปนี้ กระแสเป็น 0.11 Amp ในขณะที่ยังไม่กดสวิชท์ด้วยซ้ำ  แสดงว่าวงจร(โหลด) ดึงกระแสไปใช้งานมากกว่าที่ควรจะเป็น  ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่าน่ามีตัวรั่ว

ตัวรั่ว กับ ตัวช้อต

  • ตัวรั่วนั้น  อาจเป็นวงจร อาจเป็นตัวอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเล็กๆ ตัวใดตัวหนึ่ง  ที่โครงสร้างภายในเสื่อมสภาพ และมีการทำงานที่ผิดปรกติเกิดขึ้น
  • ตัวช้อต  อาจเป็นวงจร หรืออาจเป็นตัวอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเล็กๆ ตัวใดตัวหนึ่ง ที่มีโครงสร้างภายในทะลุ ถึงกัน(ในโครงสร้างปรกติไม่ได้ทะลุถึงกัน)  จึงเป็นเหตุให้กระแสไฟแทนที่จะไหลผ่าน ตกคล่อม ให้อุปกรณ์นั้นทำหน้าที่ที่ถูกกำหนด  แต่กลับกลายเป็น เมื่อมีการทะลุถึงกันภายในตัวมัน  มันก็ดึงกระแสไฟที่ไหลในสภาวะปรกตินั้น ลงกราวด์ ทั้งหมด  ทำให้ระบบไฟายไปโดยสิ้นเชิง  ระบบไฟ อาจเป็นไฟจากแหล่งจ่าย 19โวลท์ หรืออาจเป็นไฟที่ออกมาจากชุดไฟต่ำในวงจรแล้วก็ได้เช่นกัน  กล่าวคือ  ไฟที่ควรจะวัดได้ มันจะหายไปหมด

บทสรุป

  • กล่าวคือ ในลักษณะแนวทางตามแบบนี้  ควรต้องมุ่งในการตรวจวัดไฟในทุกชุดก่อนว่ามีชุดใดมีค่าความต้านทานที่ต่ำกว่าปรกติ  หรือพบเห็นคราบน้ำ คราบสกปรก  เห็นอุปกรณ์ขากร่อน  พบหรือคลำเจอตัวร้อน ตัวอุ่น (ซึ่งปรกติไม่อุ่น) ฯลฯ เหล่านี้จะช่วยให้สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายในการตรวจซ่อมในลักษณะแนวทางนี้ได้นะครับ

สนใจเรียนซ่อมเมบอร์ดโน๊ตบุ๊คกับเรา ไม่ว่าจะเป็นแบบ Online , Onsite หรือ สัญจร ติดต่อได้ที่  repair-notebook.com รับรองทุกท่านจะได้ความรู้แบบเต็มๆ ไม่จำกัดชั่วโมง