เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ : กินกระแสสูง แนวทางในการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การตรวจซ่อม
- สวัสดีครับ เพื่อนๆทุกท่าน วันนี้ เราได้ทำการเพิ่มเติมบทความเข้าใหม่อีกหนึ่งเรื่อง เป็นบทความที่เกี่ยวกับอาการเสียของเครื่องโน๊ตบุ๊คที่กินกระแสสูง แล้วทำให้เกิดอาการเปิดไม่ติด เปิดไม่ติด อะแดปเตอร์จ่ายไฟกระพริบ อะแดปเตอร์จ่ายไฟดับ ไฟไม่มี ไฟหน้าปัทม์เครื่องไม่มี ฯลฯ ก้แล้วแต่จะพูดกันไปตามความเข้าใจของผู้ใช้นะครับ
บทความนี้ไม่ได้เจาะจงว่า ตัวเสียจะต้องเป็นในตำแหน่งที่อยู่ตรงรูปในบทความนี้สมอไป แต่จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงลักษณะของการทำให้เกิดอาการเสีย และพาเพื่อนๆ ผู้สนใจไปสู่แนวทางวิธีการวิเคราะห์
รูปแบบของอาการเสียที่เกิดขึ้น
- ลักษณะของอาการเสียที่เกิดขึ้นจะเป็นว่า เปิดไม่ติดเลย กดสวิทช์ยังไงก็ไม่ได้ มองไปที่อะแดปเตอร์ที่เคยมีไฟสถานะอยู่ก็ดับ หรือกระพริบแว๊บๆอยู่ประมาณนั้น ในลักษณะแบบนี้ ผู้ใช้เครื่องคงยากที่จะทำการซ่อมเองได้ ถ้าไม่เข้าใจหลักการทางระบบไฟ หรืออิเล็คทรอนิคน์ การฝืนทำเพื่อให้เกิดการประหยัดค่าซ่อมนั้นอาจนำไปสู่ความเสียหายหนักขึ้น ดังนั้น ***ส่งให้ช่างเขาดูแล จะดีกว่าครับ***
- กรณีของผู้เป็นช่าง หากได้รับเครื่องโน๊ตบุ๊คที่มีลักษณะอาการของการเปิดไม่ติดเข้ามาซ่อม ช่างก็จะทำการทดสอบการจ่ายกระแสจากเครื่องจ่ายไฟ (Regulator) เข้าสู่ช่องทางของเครื่อง DC In Jack กรณีเป็นไปตามคาดหมายว่าเครื่องจ่ายไฟ แสดงสถานะหน้าปัทม์ดังรูปตัวอย่าง (ตัวเลข อาจมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ลักษณะของอาการ) ผู้ซ่อมก็จะทราบได้ดีแล้วว่า ลักษณะของอาการ จะเป็นไปในทางใด
การตรวจซ่อมด้วยการสังเกตุ
- ผู้ซ่อมอาจใช้วิธีการสังเกตุไปทั่วบอร์ดโน๊ตบุ๊คทั้งหน้า ทั้งหลัง ทุกๆ ตำแหน่ง เพื่อหาคราบน้ำ คราบกร่อน คราบสกปรก ฝุ่นละอองหนาๆ หาตัวไหม้ ตัวอุปกรณ์ที่มีลักษณะปูดบวม แตก ทะลุ ฯลฯ และอีกหลายๆ ลักษณะ ที่ผู้ซ่อมจะต้องมีไหวพริบที่ดีในการค้นหา แนวทางแบบนี้ ก็ถือเป็นการตรวจซ่อมได้ในแนวทางนึง (เราอาจเห็นในรูปตัวอย่าง พลาสติกใสๆ ละลาย ก็ถือว่าเป็นตำแหน่งที่เป็นผู้ต้องสงสัยได้)
บทความนี้ไม่ได้เจาะจงว่า ตัวเสียจะต้องเป็นอย่างตำแหน่งที่อยู่ในรูป
การตรวจซ่อมด้วยการสัมผัส
- ผู้ซ่อมอาจใช้วิธีการสัมผัส คลำหาตัวร้อน ตัวอุ่น ตำแหน่งของชุดภาคไฟ บนบอร์ดโดยทั่ว เพื่อจะได้ทราบถึงตำแหน่ง หรือจุดที่เกิดปัญหาของอาการเสียบนบอร์ดนั้นๆ ได้ด้วยเร็ว ก็จะสามารถทำให้ผู้ซ่อมเข้าถึงตำแหน่งและสามารถแก้ปัญหาของอาการที่เกิดขึ้นได้
เจอตัวเสีย หรือตำแหน่งเสียแล้ว จะต้องทำอย่างไร ?
- คำตอบก็คือว่า ก็จัดการเนื้อร้ายนี้ออกไปซะ แต่คราวนี้ต้องมาดูว่า…ไอ้เจ้าตัวปัญหา หรือเนื้อร้ายนั้น เป็นอุปกรณ์อะไร และถ้าเอาออกไปแล้ว จะทำให้ระบบไฟกลับมาทำงานได้ดังเดิม หรือว่า ไม่ดีขึ้น หรือว่า เสียหายหนักกว่าเดิม สิ่งเหล่านี้แหละที่ผู้ซ่อมที่มีประสบการณ์มีทักษะในการซ่อมตัวจริง ที่จะกระทำได้อย่างถูกต้อง ส่วนผุ้ใช้ทั่วไป หากไม่ทราบว่าอุปกรณ์นั้นเป็นอะไร ทำหน้าทีอะไร ตรงนี้ แนะนำว่า อย่าไปกระทำการซ่อมเองจะดีกว่าครับ เพราะอาจไม่คุ้มกับความเสียหายที่จะตามมาได้
หากมีข้อสงสัย ข้อคิดเห็น สอบถามปัญหา อาการเสีย เชิญที่ Webboard นะครับ
Leave a Reply