เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : การจัดวงจรภาคไฟเลี้ยงชุดต่างๆบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค
Somdai.com+Repair-notebook.com เป็นเว๊ปเดียวกันนะครับ
- บทเรียนนี้ผู้เขียนเพียงต้องการสื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจถึงลักษณะการจัดวงจรภาคไฟเลี้ยงชุดต่างๆที่มีอยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ไม่ว่าจะเป็นไฟเลี้ยงแสตนบาย 3.3 /5 ไฟเลี้ยงแรม 1.8/2.5/1.5 ไฟเลี้ยง CPU 1.5 V. ก็ตาม จะเห็นว่ามีองค์ประกอบด้านการวางอปกรณ์เหมือนๆกันแทบทั้งสิ้น มันเป็นอย่างไรกัน เรามาลองคำอธิบายดังต่อไปนี้ครับ
- จากรูปถ่ายจริง บนเมนบอร์ดยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งผมมองดูแล้วว่า ครอบคลุมแล้ว และผมก็ได้จัดกลุ่มของการจัดวงจรไว้แล้วด้วยกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง เราจะเห็นว่ามันมีทั้งหมดสองชุดด้วยกัน ทีนี้มันจะมีไฟเลี้ยงออกไปเลี้ยงวงจรกันเท่าไหร่ ถ้าเราไม่มีวงจรดู เราก็ต้องวัดแรงไฟที่ตรงคลอย์ (Coil) หรือตรงขั้วบวกของ Condensor ก็จะได้แรงไฟออกมานะครับ
ขออธิบายการทำงานของวงจรจาก Schematic ของรูปด้านบนนี้ครับ
- จาก รูปผมขออธิบายดังนี้ก็คือ วงจรภาคไฟที่ใช้ในโน๊ตบุ๊คนั้น ซึ่งได้มาจาก การทำงานของ IC Pulse (IC สร้างความถี่พลั้น (Pulse) ที่จะสร้างความออกไปไบอัสที่ขา gate ของ mosfet, Mosfet transistor และ Coil+Condensor ทำหน้าที่เป็นวงจร Filter อีกทั้งมี Zener Diode คอยป้องกันแรงไฟไม่ให้ไหลเกิน เพื่อให้วงจรไม่เสียหาย
ทีนี้เวลามันทำงาน มันมีวิธีการอย่างไร เรามาดูกันนะครับ
- พลั้นซ์(Pluse)ความถี่ที่เป็น Hi จากIC ขาที่ 26 ผ่านเข้าขา gate ของ Q1 ทำให้ Q1นำกระแสไฟไหลผ่านไปยัง Coil โดยมี D1 ซีเนอร์ไดโอดควบคุมระดับแรงไฟให้คงที่ และผ่านไปยัง C3 (condensor ) เพื่อ ประจุกระแสไฟเก็บไว้ รวมทั้งยังทำหน้าที่เป็นวงจร filter กระแสไฟให้เรียบนิ่ง ไม่มี Noise (สัญญาณรบกวน)
- จากนั้นเมื่อความถี่เป็น Low จากขา 27 ของ IC PWM ก็จะทำให้ mosfet ตัวที่สอง Q2 นำกระแสได้ ก็จะดึงไฟที่ประจุใน C3 ให้ไหลผ่านลงกราวด เพื่อให้ครบวงจร
ใน 1 cycle ก็คือ การทำงานของความถี่หลายๆครั้งใน 1วินาทีนั่นเองครับ เช่นความถี่ Hi, Lo ทำงานสลับกัน 50 ครั้งใน1วินาที เป็นต้น)
ซึ่งผู้เขียนจะเน้นให้ท่านจับจุดมันให้เจอว่า…จริงๆแล้วภาคไฟไม่มีอะไรที่ยุ่งยากมากนัก(แต่ถ้าเข้าใจได้ดี การซ่อมภาคไฟก็กินเปอร์เซ็นต์การซ่อมไปมากส่วนแล้วบนเมนบอร์ด)
การจัดวางวงจร
- IC Pulse (ในตัวอย่างวงจรในรูปด้านบนนี้ คือเบอร์ Max 8743) จะทำหน้าที่สร้าง Pulse หรือก็คือจังหวะการทำงานของสัญญาณ ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของ Mosfet ให้ on off ตามจังหวะที่ได้รับมา ออกไปเป็นแรงไฟตามที่ต้องการตามสเป็คของ IC Pulse นั้นๆ แต่การทำงานของวงจรจะสมบูรณ์ ไม่ใช่แค่ว่า IC Pulse ตัวเดียวแล้วได้แรงไฟที่ต้องการเลยนะครับ Mosfet อีก 2 ตัว ในวงจร จะทำงานในสภาวะที่แตกต่างกันของ Pulse ที่ออกมาจาก IC ในจังหวะ HI , และ LO
- mosfet ตัวที่หนึ่ง Q1 (ในวงจรรูปทางด้านบนนี้ มันจะอยู่ทางด้านซ้าย ตรงที่ขา 26ของ IC ป้อนสัญญาณไปนั่นแหละครับ) Mosfet Q1 จะมีแรงไฟมาเลี้ยงรอไว้แล้วนะครับ รอไว้ที่ไหน ตอบ รอไว้ที่ขา Drain ของ Q1 นั่นเอง (ขาDrain ของ Q1 ตัวนี้ในวงจร ก็คือขาที่ต่อมาจากขา4ของ IC ซึ่งก็จะมีไฟเลี้ยงได้ตั้งแต่ 7 – 24โวลท์ (ส่วนใหญ่จะมีประมาณเท่ากับแหล่งจ่าย แต่จากในวงจรด้านล่างนี้ เขากำหนดให้อยู่ระหว่าง 7-24 โวลท์ นั่นแสดงว่า IC Max 8743 ตัวนี้ รองรับแรงไฟได้ตั้งแต่ 7 – 24 โวลท์ ซึ่งจะทำให้ IC ยังสามารถทำงานได้นะครับ)
- ที่นี้หากท่านได้เห็น Q1 แล้วสังเกตุให้ดี จะเห็นว่า Q1 จะมีการต่อแบบอนุกรมกับ Q2 โดยขา Source ของ Q1 จะต่อร่วมกับขา Drain ของ Q2 และขา Sorce ของ Q2 จะต่อเข้ากับขา 28 และใช้ R1 ต่อลงกราวด์ของวงจรนะครับ
- Coil 2.2 uH จะต่ออยู่ระหว่าง Q1 กับ Q2 ซึ่งมี D1 ทำหน้าที่ควบคุมระดับแรงไฟอีกที (เป็นเสมือน Protec นั่นเองครับ) C3 ความจุ 470 uF จำนวน 3 ตัว(ตามวงจรนะครับ) ทำหน้าที่ Filter กระแสไฟหลังผ่าน Coil เพื่อให้เรียบพร้อมใช้งาน (ซึ่งจะมองกันเป็นวงจร Low pass Filter )
รูปการต่อ L, C เป็นวงจร Low pass Filter
- วงจร low pass filter มีลักษณะการต่อคือ ใช้ L (คอลย์) อนุกรมกับวงจร และ C (Condensor) ขนานกับวงจร คุณสมบัติของวงจรก็คือ เมื่อเราป้อนความถี่ ต่ำเข้าวงจร L จะมีค่า XL ต่ำ C จะมีค่า XC สูง ทำให้ความถี่ ต่ำผ่าน L ได้สะดวก ระดับสัญญาณ Output จึงผ่านได้มาก แต่เมื่อความถี่สูงกว่าจุดที่กำหนด ค่า XL จะมากขึ้น ค่า XC จะลดลง ทำให้ความถี่ ผ่านขดลวดได้ลดลง บางส่วนที่ผ่านไปได้ก็จะถูก C ดึงลงกราวด์ ระดับสัญญาณ Output จึงผ่านได้น้อยมาก
สรุปการเรียนในบทนี้
- องค์ประกอบในชุดภาคไฟในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ประกอบด้วยอุปกรณ์อะไรบ้าง
- ท่านตอบได้หรือยังว่า ระหว่าง mosfet สองตัว Q1,Q2 ตัวไหนทำงานก่อนกัน มีเหตุผลใดมาอธิบาย
- PWM มาจากคำเต็มว่าอะไร
- Condensor ในวงจรนี้ทำหน้าอะไร
- Zener Diode ในวงจรนี้ทำหน้าที่อะไร
- Mosfet ในวงจรนี้ทำหน้าที่อะไร
ทิป
การหาภาคไฟในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ให้สังเกตุ Coil ก่อน ที่ไหนมีคอลย์ ก็จะต้องมี mosfet อยู่ใกล้ๆ ไม่หนึ่งตัว ก็สองตัว ไม่สองตัว ก็สาม ไม่สาม ก็สี่ มันแล้วแต่การจัดวงจร และโหลดที่ทำงานต้องการกระแสไฟมากน้อยแค่ไหนด้วยนะครับ
ต้องการเรียนเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คกับ www.repair-notebook.com คลิ๊กติดต่อลงทะเบียนได้เลยที่นี่นะครับ
หากมีข้อสงสัย ข้อคิดเห็น สอบถามปัญหา อาการเสีย เชิญที่ Webboard นะครับ
Leave a Reply