• สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก และท่านผู้สนใจในความรู้ด้านการเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คทุกๆท่าน   วันนี้ www.repair-notebook.com ได้เปิดคลังความรู้ให้ผู้สนใจทุกท่านได้เรียนรู้เป็นแนวทางและนำไปสู่การต่อยอดในการเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค เพื่อเป็นอาชีพ กันต่อไปครับ
  • หัวข้อของบทความในครั้งนี้ ได้เขียนไว้ว่า “อาการเปิดไม่ติด ไฟไม่เข้า  เจอสองเด้ง”  มันเป็นยังไง ลองมาอ่านบทความกันดูนะครับ
  • Mainboard Acer 4750G ของลูกค้าที่เป็นร้านซ่อมคอมฯ แต่ได้ส่งงจากหาดใหญ่ให้ทาง www.repair-notebook.com เป็นผู้ซ่อมให้ประจำกันนั้น  มีอาการในการส่งมาครั้งแรกในเดือน 6/2558 ด้วยอาการเปิดไม่ติด

Dcin-4750G

  • 4750-1แนวทางในการตรวจเช็ค ก็มุ่งเน้นไปที่กรณีเปิดไม่ติดนั้น เพราะว่าไฟ 19 โวลท์ จาก อะแดปเตอร์ไม่สามารถผ่านเข้าบอร์ดได้  ก็เลยตรวจเช็คไปเจอตัว Zener Diode ที่หลังคอนเน็คเตอร์ของ DC in เกิดช้อต  ก็ทำให้งานซ่อมนี้จบไปด้วยเวลาเพียง 5 นาที  จากนั้นก็ทำการส่งกลับไปยังหาดใหญ่
  • หลังจากนั้นต่อมา ประมาณ 15 วันเห็นจะได้  เครื่องนี้ก็ถูกส่งมาให้ซ่อมซ้ำอาการเดิมอีก  ทาง www.repair-notebook.com ก็เลยต้องขออะแดปเตอร์ของลูกค้ามาด้วย เพื่อจะได้ตรวจเช็คว่า อะแดปเตอร์มีแรงดันไฟคงที่ หรือสวิงเปลี่ยนแปลงตลอดหรือไม่
  • เมื่อได้รับบอร์ดและอะแดปเตอร์เข้ามาแล้ว ก็ทำการตรวจเช็คอะแดปเตอร์เพื่อดูแรงดันไฟฟ้าของอะแดปเตอร์ตัวของลูกค้าก่อน ผลก็คือ เป็นแรงไฟที่ระดับ 19 โวลท์ โดยประมาณ ไม่สวิง(ใช้ ย่าน AC เช็คความถี่

  • การดำเนินการตรวจซ่อมเครื่อง ซ่อมซ้ำอาการเดิม ได้เริ่มต้นด้วยการจ่ายกระแสไฟเข้าเครื่องตรงช่องทางเข้าปรกติ  และดำเนินการวัดแรงไฟที่จ่ายเข้าสู่วงจร  อั่นแน่…ไม่เป็นการช้อตแบบครั้งแรกที่ซ่อมไปนี่…คราวนี้ เลยต้องไปเช็คไฟ 3.3/5 โวลท์ที่ตำแหน่งชุดไฟนี้

4750-3   4750-5

  • หายครับ  ไฟ 3.3/5 โวลท์ ปรกติต้องมีก่อนเลยในรุ่นนี้  มันหายไปหมด ครับ  วัดที่ขาไฟตามตำแหน่งที่สำคัญได้แก่ ขา 16 ไฟเลี้ยงวงจร , ขา 17 ไฟ 5V.reg, ขา 2 ไฟ REF 2V. ขา 8 ไฟ 3.3 V.reg ,ขา 13 ไฟ En  และก็ได้ข้อสรุปว่า ต้องเปลี่ยน PWM ชุดนี้  หลังเปลี่ยนเสร็จก็ได้ไฟ 3.3 – 5 V. มาเป็นปรกติ  แต่ บอร์ดทำงานเองเลย และกินกระแส 0.3 Amp. ซึ่งควรจะเป็น 0.01 Amp(ขณะที่ยังไม่กดสวิทช์ออน)
  • เลยพิจารณาถึงว่ามีวงจรที่เกิดการช้อตหละ…ผลสุดท้ายก็ไปพบว่า ชุดไฟ Vcore ของ CPU มี IC PWM ภาคไฟ ร้อนมากๆ เลยต้องถอดออกและตรวจเช็ค Fet และ RCL รอบข้างของ PWM นี้ด้วย เพื่อดูว่ามีตัวไหนช้อต หรือขาดเพิ่มเติมไม๊  และผลสุดท้ายก็เปลี่ยนเสร็จ ก็จบงานได้หละครับ

4750-3

ภาพด้านบนนี้เป็นภาพของ IC ภาคไฟของ Vcore (ไฟเลี้ยง CPU) รวมถึง Mosfet และ C ที่ถอดออกมาพื่อตรวจดู ดี เสีย

4750-2

ภาพด้านบนนี้ เป็นตำแหน่งของ IC Vcore ที่ถูกถอดออกเพราะตัว IC มีความร้อนสูง เนื่องจากช้อตภายในตัวของมันเอง

20150610_214428ภาพด้านบนนี้ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นว่า หลังจากได้เปลี่ยน IC Vcore ภาคไฟ CPU ที่ช้อต แล้ว เครื่องก็สามารถเปิดติด มีภาพได้นั่นเอง

  • โดยบทสรุปของการซ่อม แสดงให้เห็นว่า เราอาจจมองไม่เห็นอนาคตที่ชัดเจนมากนัก  ของอาการที่จะเกิดขึ้นต่อไป  การซ่อม ในเฉพาะปัจจุบันให้เกิด และทดสอบให้ผ่าน และดูโดยรวมของเครื่อง ก็ถือเป็นความละเอียดรอบคอบของผู้เป็นช่างนั้นๆ แล้ว   ส่วนเมื่อส่งเครื่องกลับสู่ลูกค้าแล้ว จะเกิดอาการในลักษณะเดิม หรืออาการใหม่ เราก็ใช้สิทธิการให้ประกันแก่ลูกค้ามาดำเนินการแก้ปัญหาให้แก่ลูกค้านั้นๆ เป็นเคสๆ ไป  ครับ  การที่เราจะซ่อมเครื่องด้วยอาการหนึ่งและจะไม่ให้เกิดอีกอาการใดๆ ต่อไปในช่วงรับประกัน หรือนอกประกันไปแล้วก็ตาม เป็นเรื่องที่ไม่สามารถกระทำได้อย่างแน่นอนครับ  เพราะด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ เรื่องด้วยกันครับ

**สนใจเรียนซ่อม, หรือส่งงานซ่อม กับทีมงาน www.repair-notebook.com สามารถติดต่อได้ที่ https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH/notifications/ ซ่อมด้วยหลักการและด้วยเครื่องมือที่มีคุณภาพ