ตำแหน่งเสียของ การซ่อม adaptor notebook และหลักการทำงานของ Switching
- ครับเพื่อนๆ วันนี้ ผมขอนำเสนอเกี่ยวกับ ตัวอะแดปเตอร์โน๊ตบุ๊คต่อนะครับ เจ้า adaptor นี้ ก็มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับวงจรสวิชชิ่ง พาวเวอร์ซัพพลาย ทั่วๆไปนั่นเอง อุปกรณ์ที่ใช้อาจเล็กลงบ้าน ตามลักษณะของแพ็คเก็จในการบรรจุนะครับ แต่ถ้าเพื่อนๆมีความรู้ด้านการซ่อมสวิชชิ่งมบ้างแล้ว บทความนี้ก็จะช่วยทำให้การพิจารณาในตำแหน่งเสียในการซ่อม ทำได้ง่ายขึ้นครับ
- ก่อนอื่นเรามารู้จัก หลักการทำงานของวงจรสวิทชิ่ง กันก่อนแล้วกันครับ
- ทางเข้าไฟเป็น Input 220 V.AC(กระแสสลับ) จะผ่านวงจร Filter เช่น Coil(ขดลวดทองแดง) เพื่อกรองกระแสไฟให้มีความเรียบไม่ให้มีสัญญาณรบกวนต่างๆ เข้าไปรบกวนการทำงานในวงจร
- วงจรเร็กติไฟล์ (Rectifier) เป็นวงจรที่ทำหน้าที่ให้กระแสไฟที่เป็นชนิดกระแสสลับ 220 V.AC ถูกเปลี่ยนเป็นกระแสตรงไฟตรง 310 V. DC จะสูงกว่า AC.=1.141 เท่า และมีขั้วบวก ลบแน่นอน) ในวงจรจะนิยมใช้ไดโอดบริดจ์ ซึ่งจะนำไฟ AC สองเส้นเข้าที่ขาในตำแหน่ง AC จะ จะได้กระแสไฟตรง DC ออกทาง ด้านซ้ายและขวาและตัว Bridge Diode นี้
- วงจรฟิลเตอร์ (DC Fllter) กระแสไฟตรง วงจรในส่วนนนี้จะมีแรงเคลื่อนที่สูง คืออยู่ที่ประมาณ 310 โวลท์ดีซี 310V.DC เพื่อให้กระแสไฟตรงตรงตำแหน่งนี้ทำงานได้ราบเรียน,และนิ่ง เพื่อนำไปใช้กับ Power Transistor
- พาวเวอร์ ทรานซิสเตอร์ (Power Transistor) เป็นวงจรส่วนที่จะนำไฟ หลังจาก Filter ในข้อ 3. แล้ว มาทำการสวิทช์ที่ความถี่สูง กล่าวคือจะทำให้ Transistor มีการทำงานเปิดปิดให้กระแสไฟไหล เข้า ออก ในช่วงเวลา 1 วินาที เป็นจำนวนหลายๆครั้ง เช่น 300000 ครั้งต่อวินาที (300 KHz) เป็นต้น
- หม้อแปลง สวิทชชิ่ง (Switching Transformer) เป็นหม้อแปลงไฟที่ทำงานร่วมกับ Power Transistor ตามข้อ 4 เมื่อ Transistor On มีกระแสไฟไหล ก็จะไหลผ่านสู่ขวดลวดทางด้าน Primary ของหม้อแปลง ครบวงจรที่ กราวด์ เพื่อให้ขวดลวดมีสนามแม่เหล็ก และเมื่อ Transistor Off กระแสหยุดไหล ขดลวดของหม้อแปลงก็จะคลายตัว และเกิดมีการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กข้ามฝั่งไปยังชุด Secondary ซึ่งเป็นผลให้มีกระแสไฟไหล **กระแสไฟที่ผ่านออกจากขดลวดด้าน Secondary จะเป็นชนิด AC ไฟต่ำเพื่อนำไปเตรียมใช้ให้กับอุปกรณ์ต่อๆไป
รูป Block Diagram ของวงจรสวิชชิ่ง พาวเวอร์ซัพพลาย สำหรับอะแดปเตอร์
หลักการทำงาน วงจรสวิทชชิง
- วงจรเรียงกระแส และกรองแรงดัน (Rectifier & Filter) วงจรชุดนี้ จะทำงานด้านไฟต่ำแล้วนะครับ เนื่องจากเป็นชุดที่ทำงานต่อจากขด Secondary ของหม้อแปลงสวิชชิ่ง วงจรนี้ จะทำหน้าที่ในการจัดเรียงกระแสไฟสลับ ให้เป็นกระแสไฟตรงและพร้อมทั้งกรองกระแสไฟให้เรียบ โดยหลักการเช่นเดียวกันกับ Filter รูปแบบอื่นๆ
- วงจรควบคุม (Control) ในส่วนของวงจรนี้ จะมี IC ที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของ กระแสไฟทางออกที่จะไปเลี้ยงวงจร อุปกรณ์ (โหลด) ซึ่ง IC นี้ จะส่งคำสั่งไปควบคุม วงจร Transistor Switching ให้รักษาระดับการทำงานให้คงที และหรือ ชดเชยให้ทาง Output ได้แรงไฟ และกระแสไฟที่คงที่ตลอดเวลา หน้าที่ที่เห็นๆอีกกรณีก็คือ ถ้าทางโหลด หรืออุปกรณ์ที่ใช้กระแสไฟนี้ เกิดช้อตขึ้น วงจรควบคุม ก็จะสั่งให้ส่วนการสวิชทชิ่ง ตัดการทำงานได้ ซึ่งจะมีผลให้วงจรปลอดภัยนั่นเอง
- โหลด (Load) เป็นส่วนของอุปกรณ์ที่นำกระแสไฟไปใช้งานนั่นเองครับ
ท้ายนี้ ผมขอทิ้งเนื้อหาไว้เท่านี้ก่อน เพราะผมเน้นไปที่รูปในการแสดงตำแหน่งเสียให้เห็นนะครับ สำหรับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องที่ผมจะพูดต่อไป ก็ให้เพื่อนๆตามในบทความที่เกี่ยวกับ ความรู้ด้านสวิชชิ่ง พาวเวอร์ซัพพลาย นะครับ
May 1st, 2009 at 10:17 pm
thanks alot
May 2nd, 2009 at 6:14 pm
นี่ก็แค่เป็นน้ำจิ้ม เล็กๆ น้อย ๆครับ ติดตามตอนต่อไปนะครับ..
ผู้จัดทำ
May 5th, 2009 at 10:14 am
สุดยอดครับมีสอนไหม
May 5th, 2009 at 10:59 am
ขอบคุณครับ สำหรับเรื่องการสอนนั้น ตอนี้ผมไม่ค่อยจะมีเวลามากนักครับ เอาเป็นว่าสิ่งที่ต้องการตอนนี้ ก็คืออยากนำเสนองานซ่อมต่างๆ ที่ได้เจอและพบเห็น ออกเป็นเว๊ปเพื่อเป็นวิทยาทานแก่เพื่อนๆนะครับ
ผู้จัดทำ
March 15th, 2011 at 3:32 pm
ขอบคุณมากครับ กำลังหาวิธีซ่อมอยู่เลย เสียหลายตัว