ตรวจซ่อมอาการเสีย : HDD Not Detect (ไบออสมองไม่เห็นฮาร์ดดิสก์)ไฟ5V_HDD, 3.3V_HDD ไม่มี
- สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกและผู้สนใจในบทความด้านการเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คทุกท่าน สำหรับวันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับเรื่องของการที่ฮาร์ดดิสก์ไม่ถูกตรวจสอบโดยไบออส ซึ่งหมายความถึ่งว่า ตัวฮาร์ดดิสก์เอง หรือตัวเมนบอร์ดเองเป็นตัวปัญหาในลักษณะอาการตรงนี้
ในการตรวจซ่อมเรามีวิธีดำเนินการดังนี้
- เปลี่ยนตัวฮาร์ดดิสก์ ใหม่ เพื่อทดสอบการทำงานแบบพื้นฐานที่สุด เลือกความจุของ harddisk ที่มีขนาดใกล้เคียงไม่สูงเกินจากเดิมมากนัก (เนื่องจากเมนบอร์ดบางเครื่องไม่สามารถตรวจสอบ หรือ detect Harddisk ที่มีขนาดความจุสูงๆได้
- เข้าสู่เมนูของไบออส เพื่อทำการปรับเปลี่ยนค่าในหัวข้อที่เกี่ยวกับตัวฮาร์ดดิสก์ หรือ อาจทำการเลือกเมนูที่เป็น Load Default ก็ได้
โดยพื้นฐานหากได้ทดลองทำ เพื่อดูทางแก้ปัญหาในเบื้องต้นกันแล้ว ก็มาดูในส่วนของวงจรของตำแหน่งนี้กันครับ
ในส่วนของการตรวจซ่อมวงจรในภาคนี้ เราจะเห็นจากวงจรว่า มีจำนวนขา 22ขาด้วยกัน แต่ถ้าเรามองให้ละเอียด เราจะเห็นว่า มีขา เพียงไม่กี่ขาเองที่ใช้งาน นั่นหมายถึงว่า ขาต่างๆที่มากมายนั้น มันเป็นขาที่มีการต่อเชื่อมกันอยู่ เช่น
- ขา 1,4,7 เป็นขากราวด์ของวงจร(ground)
- ขา 2,3 เป็นขาสัญญาณ TX +,-
- ขา 5,6 เป็นขาสัญญาณ RX +,-
- ขา8,9,10 เป็นขาไฟ 3.3V HDD
- ขาที่ 11,12,13 เป็นขากราด์ของวงจร
- ขาที่ 14,15,16 เป็นขาไฟ 5 V
- ขาที่17 , 19 เป็นขากราวด์
- ขาอื่นๆ นอกจากนี้ เป็นขาที่ยังไม่ได้นำมาใช้งานในวงจรของโน๊ตบุ๊คในตำแหน่ง Hard Disk Connector นี้ครับ
วงจรไฟเลี้ยงของ HDD Connector
ชุดไฟเลี้ยง 5V. พร้อมวงจร Filter
ชุดไฟเลี้ยง 3.3 V พร้อมวงจร Filter
วงจรชุดไฟเลี้ยงของ HDD สำหรับเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค
หลักการทำงานของชุดวงจร HDD PWR
ตำแหน่งตรวจเช็ค
- ได้แก่ HDD_EN คำสั่งที่จะไปทำการไบอัส FetQ34A ที่ขา G
- ไฟชุด 3.3V_ALW2 ขา D ของ Q34A
- ไฟชุด 15V_ALW ขา D ของ Q34B
- ไฟชุด 5V_ALW ขา D ของ Q32 ซึ่งเป็นส่วนสวิทช์ที่จะทำให้ไฟ 5V_HDD ออกไปเลี้ยงวงจร ของ HDD
- ไฟชุด 3.3V ALW ขา D ของ Q117 ซึ่งเป็นส่วนสวิทช์ที่จะทำให้ไฟ 3.3V_HDD ออกไปเลี้ยงวงจรของHDD
ดั้งนั้น กรณีของไฟในตำแหน่ง 3.3/5V HDD ไม่ออก หรือมีไม่ครบตำแรงไฟระบุ
- เราควรจะต้องไปทำการตรวจเช็กที่ตำแหน่งต่างๆข้างน้นก่อน เพื่อดูความพร้อมของ ไฟในทุกตำแหน่งว่ามารอพร้อมแล้ว และค่อยดำเนินการในขั้นต่อไป
- อย่าลืมว่า การทำงานของ Fet ต่างๆทุกชนิด ถ้ามีไฟมารอแล้ว จะต้องมีคำสั่ง (คำสั่งอาจเป็นไฟ หรือ สัญญาณก็ได้) มันถึงจะทำให้ ขาD-S, หรือ ขา S-D ทำงาน ได้ ซึ่งก็จะทำเกิดการครบวงจรนั่นเอง
- การครบวงจร…อาจเป็นการที่ D-S ,S-D ต่อถึงกันและกระแสไหลลงกราวด์ไป หรืออาจทำให้กระแสไหลผ่านไปยังอีกชุดวงจรนึง ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจรครับ
หากมีข้อสงสัย ข้อคิดเห็น สอบถามปัญหา อาการเสีย เชิญที่ Webboard นะครับ
Leave a Reply