การหัดอ่าน-หัดไล่วงจรเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค(ตอนที่2) การดูลักษณะการจัดวงจรแบบต่างๆ
- สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก repair-notebook.com ทั้งเว๊ปไซด์และทาง Facebook ทุกท่าน สำหรับวันนี้ เราจะมาพูดกันต่อเกี่ยวกับเรื่องของการอ่านวงจรในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ว่าในตำแหน่งต่างๆ นั้น เราจะพอเข้าใจและทราบวัตถุประสงค์ของผู้สร้างวงจรนั้นๆ ได้อย่างไร การจะตอบคำถามนี้ ก็ไม่ถึงกับยากหรอกนะ…เพราะว่า หากเราเข้าใจตัวอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่าจะเป็น R C L D Fet ,TR, IC ต่างๆ แล้ว เราก็จะสามารถคาดเดาวิธีการนำอุปกรณ์เหล่านั้น ลงมาวางใช้ในวงจรในตำแหน่งนั้น ว่าเขาวางไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใด เรามาดูกันในคราวนี้กันเลยครับ
การนำซี Condenser มาต่อขนานใช้งานในระบบไฟของเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค
- เรามาดูจากภาพด้านบนกันครับ สัญญาลักษณ์ของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่อยู่ในรูปนี้ จะเป็นตัวคอนเด็นเซอร์(Condensor) หรือเราจะเรียกันสั้นๆติดปากกันว่า”ซี” C นี่แหละครับ
- คุณสมบัติของ C นั้นก็จะทำหน้าที่ในการเก็บและคายประจุไฟฟ้า นั่นหมายถึงว่า “ถ้าจะมองให้ง่ายๆหน่อย”ก็คือ มันจะทำหน้าที่เสมือนเป็นแบตเตรี่ลูกนึงนั่นเอง ทีนี้เวลามันทำงานมันจะให้กระแสตกคร่อมตัวมันครับ จากนั้นมันก็จะทำการเก็บประจุของกระแสที่ตกคร่อมมันไว้ เท่าที่ค่าความจุในตัวของซีนั้นๆจะเก็บได้ หมายความว่า ถ้าซีค่าความจุสูงๆ ก็จะเก็บประจุกระแสไฟได้เป็นปริมาณมากๆ เช่นกัน
- พอเราทราบคุณสมบัติของซีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็จะต้องทราบต่อว่า การนำซีไปใช้งานในวงจรเขามีวิธีการอย่างไร หรือเรียกว่าคิดยังไง ถึงต้องเอาซีไปไว้ในตำแหน่งนั้นๆ
- ตอบง่ายๆ ก็คือ เขาต้องการให้ซีไปทำการเก็บและคายประจุในวงจรในตำแหน่งนั้นๆนั่นเองครับ เพื่อวัตถุประสงค์ให้วงจรในตำแหน่งนั้นๆ มีกระแสที่นิ่งมากที่สุด และให้ปราศจากสิ่งแปลกปลอม เช่น ความถี่แฝงต่างๆ เพื่อไม่ให้เข้าไปในวงจร และไปทำการรบกวนต่อวงจรอื่นๆ ครับ
- ขออธิบายจากรูปที่นำมาลงไว้ให้ต่อนะครับว่า…ลักษณะของการจัดวงจรภาคไฟชุดนี้ ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำซีมาต่อแบบขนานกันหลายๆ ตัว(การต่อแบบขนานจะทำให้ค่าความจุของซีสูงขึ้นแต่ในขณะที่ค่าแรงไฟ(โวลท์) ยังคงเท่าเดิม)
- การต่อขนานกันหลายๆ ตัวค่าความจุเพิ่มแต่โวลท์เท่าเดิม จะสังเกตุเห็นกันนะครับว่าค่าความจุของ Cที่มีขนาด 22uF (ยี่สิบสอง ไมโครฟารัด) จัดว่าเป็นค่าความจุที่น้อยนะครับ พวกค่าความจุน้อยๆ อาจจะเจอกันเช่น 1 uF,10uF,22uF ครับ..แต่ซีพวกนี้จะมีโวลท์ที่สูง ตัวจริงในวงจรจะตัวเล็กๆ สีน้ำตาลครับ
จากรูปภาพจริงของ Cที่มีการต่อแบบขนาน และหน้าตาของซีที่หลายๆท่านยังไม่เคยเห็นกันนะครับ ในลักษณะของภาพจริงจะเห็นว่ามีการเรียงวางเป็นแถวไปเลย นั่นแหละครับในวงจรเขาจะต่อกันเป็นแบบขนานตามที่ได้อธิบายไว้นั่นเอง
สรุปนะครับ ว่าถ้าเราเจอซีในวงจรมีการต่อแบบตามรูปสัญญาลักษณะข้างต้น เราจะสามารถตอบได้ว่าเขาต่อไว้เพื่อให้ได้ความจุดสูงขึ้นโวลท์เท่าเดิม และเพื่อประโยชน์ให้ได้คุณสมบัติในเรื่องการกรองกระแสไฟให้มีความนิ่ง ไม่ให้สัญญาณรบกวนไหลผ่านไปในวงจร เป็นเหตุให้เกิดการรบกวนได้นั่นเอง
***จริงๆแล้วรายละเอียดของอุปกรณ์นี้และการต่อยังมีรายละเอียดอีกมากครับ แต่เนื่องจากบทความที่เขียนเราใช้พื้นที่จำกัด เลยต้องขอจบเพียงแค่นี้ครับ
เยี่ยมชมเราได้ที่ repair-notebook.com และ ทาง facebook นะครับ เราะจะนำบทความดีๆ มีสาระความรู้มานำเสนอกันต่อๆ ไปครับ
หากมีข้อสงสัย ข้อคิดเห็น สอบถามปัญหา อาการเสีย เชิญที่ Webboard นะครับ
Leave a Reply