โน๊ตบุ๊ครุ่นเก่ากับโน๊ตบุ๊ครุ่ใหม่ๆ (ในปัจจุบัน2019) มีโครงสร้างสถาปัตยกรรมการสร้างที่แตกต่างกันไปอย่างมาก   ดั้งเดิมโน๊ตบุ๊คมี CPU  มี Northbridge ชิปเหนือ มี Southbridge ชิปใต้ ที่แยกตัวออกอย่างชัดเจน ชี้กันเป็นตัวๆ ชิพได้อย่างเห็นเด่นชัด  น้ำหนักมาก สองโลกว่าๆขึ้น  สมัยนั้นๆ เราถือโน๊ตบุ๊คด้วยน้ำหนักสองโลกว่าๆ นี้ ต้องถือว่า โอเคแล้วหละครับ

ต่อมาวิวัฒนาการของการสร้างโน๊ตบุ๊คก็มีขนาดที่เล็ก บาง ลง ความร้อนน้อยลง ประสิทธิภาพความเร็ว การแสดงผล และอื่นๆ สูงขึ้นตามลำดับ  แต่ก็ต้องอ้างอิงกับ OS ที่ถูกออกแบบให้ใช้แบบสอดคล้องตรงสเป็คกัน  ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่ 64 bit ทั้ง Software และ Hardware ที่ถูกพัฒนาเปลี่ยนแปลงกันตามๆกัน

  • EC  (Embedded controller)

EC หรือก็คือ Multi IO นั่นเอง  เราอาจจะเรียก IO หรือ Multi IO หรือเรียก EC ก็ให้ถือเป็นความหมายเดียวกัน  ซึ่งก็คือ ตัวควบคุมแบบฝังตัวคือไมโครคอนโทรลเลอร์ในคอมพิวเตอร์ที่จัดการงานระบบต่างๆที่ระบบปฏิบัติการไม่สามารถจัดการได้

ในแนวทางการซ่อมของผู้เป็นช่าง หรือร้านซ่อม ที่หันมาซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค เป็นล่ำเป็นสัน ก็ปรับเปลียนวิธีการ เทคนิค วิธีต่างๆ ที่จะเอาชนะ ตัวบอร์ดที่ออกแบบมาอย่างให้ซ่อมยากขึ้น  ทั้งเล็ก ทั้งอะไหล่ที่แพง ทั้งต้องหาซื้อเครื่องมือพิเศษ หลายๆ ชิ้น  รวมถึงต้องไปหันศึกษา หาข้อมูลในเว๊ปต่างประเทศ นำมาประยุกต์ดัดแปลงพัฒนา ให้สามารถซ่อมเครื่องที่อยู่ในมือให้ผ่านให้ได้  ทั้งต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของเว๊ปต่างประเทศ ซื้อข้อมูลความรู้ด้านเทคนิควิธีการพิเศษ ต่างๆ เช่นการตัดวงจรภาคแรมออนบอร์ด การตัดการใช้ VGA onboard เป็นต้น