• SSD มาจากคำว่า solid state เป็นเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล อ่าน เขียน โดยตรงลงสู่ตัวmemory ซึ่งต่างจากเดิมที่จะต้องเขียน อ่าน เก็บข้อมูลในจานดิสก์ ซึ่งแน่นอนว่า เทคโนโลยีก็จะมีพัฒนาให้เกิดความสามารถในด้านความเร็วและประสิทธิภาพในการจัดเก็บ อ่าน เขียน และมีความปลอดภัยมากกว่าเทคโนโลยีเดิมๆเป็นอย่างแน่นอน

  • เทคโนโลยีของโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างมาเพื่อทดแทนฮาร์ดดิสก์จึงทำให้มีอินเทอร์เฟส อินพุต/เอ้าพุต เหมือนกันและสามารถใช้งานแทนกันได้ และเนื่องจากโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่มีชิ้นส่วนจักรกลใดๆที่มีการเคลื่อนที่ (หลักการของ ฮาร์ดดิสก์ และ ฟรอปปี้ดิสก์ คือใช้จานแม่เหล็กหมุน) ส่งผลให้ความเสียหายจากแรงกระแทกของโซลิดสเตตไดรฟ์นั้นน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ (หรือทนต่อการแรงสั่นสะเทือนได้ดี) โดยการเปรียบเทียบจากการที่โซลิดสเตตไดรฟ์ไม่ต้องหมุนจานแม่เหล็กในการอ่านข้อมูลทำให้อุปกรณ์กินไฟน้อยกว่า และใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูล (access time) และเวลาในการหน่วงข้อมูล (latency) น้อยกว่าเนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลในตำแหน่งต่างๆ ได้รวดเร็วและทันทีโดยไม่ต้องรอการหมุนจานแม่เหล็กให้ถึงตำแหน่งของข้อมูล

  • SSD มี 2 รูปแบบ ซึ่งได้แก่ NOR Flash  และ NAND Flash
  • NOR Flash จะมีลักษระการต่อของน่วยความจำแบบขนาน  ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระ  อ่านข้อมูลได้เร็วมากๆ และจะมีความจุที่ต่ำ  และราคาก็ย่อมจะต้องแพงตามกันไปด้วย
  • NAND Flash จะเป็นการที่ให้มีการเข้าถึงข้อมูลทีละบล๊อค  ทำให้มีความจุสูง และราคาถูก จะถูกจัดทำให้เป็นระบบเดียวกับ FlashDrive ที่เราใช้กันอยู่
  • การทำงานของ SSD ในเรื่องความเร็วแล้ว จะสามารถเริ่มทำงานได้ทันที(Start up Time) ส่วน HDD จะต้องรอให้มีการหมุนของจานดิสก์ให้ได้รอบความเร็วที่กำหนดจึงจะสามารถใช้งานได้
  • ในเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลที่เรียกว่า Random access time SSD จะใช้เวลาน้อยมากๆ เช่นประมาณ 0.1 มิลลิวินาที  ซึ่งเร็วกว่าฮาร์ทดิสก์ หลายๆ เท่าน ส่วน HDD จะใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมุลเกือบประมาณ 2.9-12  มิลลิวินาที(แล้วแต่ชนิดของฮาร์ทดิสก์)
  • รูปแบบของ SSD ที่วางขายในท้องตลาด
  • 1.SATA SSD  M2 From Factor  ซึ่งมีขนาดประมาณ 2.5 นิ้ว สามารถต่อแทนฮาร์ทดิสก์ที่ใช้ SATA Port Interface ได้ทันที  มีความเร็วในการอ่านสูบ 500 MB/sec และมีความเร็วในการเขียนสูงสุด 450 MB/sec มีความจุหลายขนาดเช่น 120 GB 240GB 480GB/ 960GB / 1.92TB
  • 2. NVMe PCIe SSD มีความสามารถในการอ่านสูงสุด 2200 MB/sec และความสามารถในการเขียนข้อมูล 2000 MB/sec มีขนาดความจุเช่น 250GB  500GB  1TB 

 

  • ดังนั้นหากเพื่อนๆท่านใดที่ต้องการจะขยับขยายขึ้นใช้ SSD กับเขากันบ้าง ก็จะต้องตรวจสอบช่องเสียบที่ใช้สำหรรับ SSD ในเครื่องเราว่ามีรองรับไว้หรือไม่ และเป็น SSD ชนิดใด  แต่ถ้าที่แน่ๆ ครับ ใช้ SSD ชนิดที่ Interface แบบ SATA (รูปทรางสี่เหลี่ยมแบบฮาร์ดดิส์ก์ ก็จะสามารถใช้แทน HDD ตัวเก่าของเราได้อย่างแน่นอน ได้ความเร็วสูงกว่าแน่  แต่ที่สำคัญอีกเรื่องนึงก็คือ  อย่างลืมนะครับว่า SSD นั้นมีความจุไม่สูงมาก  การนำมาใช้ก็มุ่งเน้นไปในการบูท OS และ Aplication ต่างๆ ให้ได้ความเร็วทันใจได้  แต่จะใช้เก็บข้อมูลปริมาณมากๆ นั้นคงจะไม่เหมาะสมมากนักครับ  จึงต้องควรมี External drive ที่อาจเป็นฮาร์ดดิสก์ไว้ในมือต่อทางช่องเสีบ usb 2  usb3 ก็ได้หละ  ปัญหาที่จะทำให้ SSD พื้นที่เต็มเร็ว ก็จะหมดไปครับ

จำไวนะครับว่า OS คือโปรแกรมระบบปฏิบัติการ  Application คือโปรแกรมประยุกต์(คือโปรแกรมทำงานต่างๆ นั่นเอง)  ส่วนผลที่ได้จากการทำงานใน application ขนิดต่างๆ นั้นก็คือ Data หรือข้อมูลนั่นเอง   ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บเยอะ ก็คือเจ้าตัว Data นั่นเองครับ 

ไว้โอกาสหน้าจะมาแนะนำความรู้ต่าๆให้เพื่อนๆ และผู้สนใจได้รับทราบกันอีกนะครับ  

ติดตาม repair-notebook ทาง facebook ได้ที่ https://web.facebook.com/RepairNotebook.TH