• เพื่อนๆครับ  เคยตั้งข้อสงสัยกันไม๊ว่า  เวลาที่แบตโน๊ตบุ๊คของเรามันไม่สามารถจชาร์จไฟเข้าได้แล้ว มันใช้ๆ แล้วพลังไฟหมดเร็ว  หรือเพิ่งชาร์จไป ใช้ไปได้สักแป๊บเดียวก็หมดไฟ  กรณีอย่างนี้  เพื่อนๆคิดว่าเราควรจะซ่อมเปลี่ยนเฉพาะก้อนแบต หรือควรจะทำการเปลี่ยนก้อนใหม่กันดี วันนี้ repair-notebook.com เรามีความคิดเห็น ข้อเสนอแนะให้ทราบกันครับ
  • แบตเดิมเสื่อม ก็เพราะอาจเป็นได้ว่า หมดรอบเวลาการใช้ หรือเรียกว่าแบตหมดอายุนั่นเองครับ  จะชาร์จยังไงก็ไม่เข้า กระแสไฟไม่เข้า โวลท์ คือเรื่องของแรงดัน  ถ้า แอมป์ คือเรื่องของกระแสไฟนะครับ 
  • ทีนี้  เมื่อแบตโน๊ตบุ๊คของเรามันหมด กล่าวคือ ไม่มีไฟแล้ว ชาร์จไม่เข้า ประมาณนั้น  แล้วเราได้ลองเอาแบตก้อนใหม่ มาลองแล้ว พบว่า เมื่อเปลี่ยนแบตก้อนใหม่แล้ว ใช้งานได้ปรกติ ชาร์จเข้า  ก็ตัดปัญหาเรื่องของการทำงานของตัวเมนบอร์ดไปได้เลย  และไปจบที่แบตนะครับ  แนวทางนี้ก็เป็นแนวทางวิเคราะห์อาการเสียของผู้ใช้หรือตัวช่างก็สามารถนำไปใช้ได้คำตอบเช่นกันคับ

เมื่อแบตโน๊ตบุ๊คเสื่อม ไฟหมด ชาร์จไม่เข้าแล้ว เราควรซื้อใหม่หรือซ่อมดี

เหตุผลต่อไปนี้ช่วยเป็นแนวทางในการตัดสินใจ 

ของแท้ หรือ ของทำเทียบเคียงดี

ในด้านราคาและคุณภาพรวมถึงประสิทธิภาพความคงทนในการใช้งาน

  • ของแท้(Original)ย่อมดีกว่าของเทียบเคียง (compatible) เพราะของแท้ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป บางทีของแท้ที่ได้มาก็มีปัญหาในการใช้งานได้เช่นกัน จนถึงต้องนำกลับไปทำเคลมซ้ำ เพื่อขอเปลี่ยนก้อนใหม่ก็มี เรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน  ย่อมบอกได้ดีว่า ของแท้โดยยี่ห้อจะเป็นตัวการันตี คุณภาพได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นผู้ใช้เขาก็พยายามเลือกใช้แต่ของแท้ แม้ถึงว่าราคาจะสูง  ความคงทนก็ไม่ด้อย เพราะผู้ผลิตของแท้ ก็ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เมื่อนำมาประกอบเป็นชุดแบตในยี่ห้อของตนเองแล้ว ก็ต้องเลือกใช้เกรดของอะไหล่ อาทิ แบตเตอรี่ก้อน ที่มีคุณภาพที่ดีกว่า แน่นอน เพื่อยังไงก็ไม่ทำให้ภาพลักษณ์ขององกร ยี่ห้อตัวเองเสียไป อันเป็นผลให้ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตกลง  แต่ยังๆแล้ว ของแท้ก็ดีกว่าแน่นอนครับ
  • ของเทียบเคียง (compatible) ซึ่งอาจเป็นการทำใหม่จากโรงงานที่ทำเทียบเคียงออกมาจำหน่าย  ซึ่งส่วนใหญ่ ก็ใช่ว่าคุณภาพจะด้อยไปกว่าของแท้  แต่ที่แน่ๆ เรื่องของราคาโดนใจผู้ใช้แน่นอนครับ  เพราะจะถูกกว่าของแท้เกือบสองสามเท่าเลยทีดี  ในเรื่องคุณภาพ ผู้ผลิตก็ต้องเลือกใช้แบตเตอรี่ก้อนที่เกรดลองจากเกรดหนึ่งหน่อยหละ  เพราะต้นทุนการผลิตจะได้ถูกลง  ทำให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ประหยัดกว่าของแท้ได้  

ควรนำไปเปลี่ยนเฉพาะก้อนแบต หรือ ไม่ควรดี

การนำแบตแพ็คไปทำการเปลี่ยนก้อนแบตใหม่นั้น  อาจทำได้  แต่จะไม่สามารถทำได้ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ   

  • เนื่องจากจะมีค่าความจำในตัว ROM ของวงจรที่อยู่ในแบตแพ็คนั้น ที่จะเสมือนจดจำว่าแบตแพ็คนี้มีการชาร์จเต็มจำนวนครั้งไปแล้ว เช่่น 300 ครั้ง ก็จะไม่สามารถชาร์จเข้าได้อีก  ถึงแม้ว่าแบตจะยังไม่เสื่อม  แต่เราจะไม่สามารถชาร์จเข้าไปได้นั่นเอง   แม้ว่าเราจะเปลี่ยนก้อนแบตใหม่ทั้งหมด ก็ยังไม่ได้ ซึ่งจะต้องไปทำการ Reset ค่าความจำนั้น ออก (เสมือนปริ้นเตอร์ที่เวลาซับหมึกเต็มไงครับ  ก็ต้องไปส่งร้านให้ทำการเคลีย นับศูนย์กันใหม่)  
  • แต่แบต ก็เหมือนๆกันครับ  เพียงแต่ว่า เป็นแบบยี่ห้อ รุ่น อะไร  ก็ต้องใช้ Software ของยี่ห้อ รุ่นนั้นๆ ทำการเคลีย์ออกนั่นเอง ซึ่งตรงนี้แหละที่จะบอกเพื่อนๆ ว่า ทำยากครับ  หายากครับ  จึงทำให้ข้อนี้ การซื้อแบตใหม่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ทำไมจึงชาร์จแบตไม่เข้าทั้งๆ ที่แกะออกมาเช็คก้อนแบตแล้ว ก็พบว่าแบตมีไฟทุกก้อน

  • เหตุที่เราไม่สามารถชาร์จแบตได้หลังจากใช้ไปนานๆ มันจะมีเหตุนึงที่ผู้ใช้ควรทราบ  นั่นก็คือ เรื่องของค่าความจำ ในเรื่องรอบการชาร์จแบต  นั่นหมายถึงว่าในก้อนแบตแพ็คของเรา  จะมีวงจรที่ควบคุมการชาร์จแบต รวมถึงวงจรนี้ยังมีหน่วยความจำที่เรียกว่าROM อยู่ด้วย เพื่อที่จะคอยบันทึกการชาร์จแบตของเรา  ว่าได้มีการชาร์จไปรวมกี่ครั้งแล้ว  และเมื่อถึงจำนวนครั้งที่ชาร์จจนครบแล้ว ก็จะไม่สามารถชาร์จเข้าได้อีก  นั่นหมายถึงว่า เราจะต้องมีโปรแกรมเพื่อทำการเคลียค่าความจำนี้ด้วย  เพื่อจะให้ความจำกลับไปเริ่มต้นนับการชาร์จใหม่นั่นเอง 

การชาร์จแบตมีกลไกยังไง หมายถึงว่า มันมีหลักการทำงานเช่นไร

  • การชาร์จแบตในโน๊ตบุ๊คนั้น  จะใช้หลักการการควบรุมสั่งงานจาก IO Controler ที่เป็น IC ชนิด 128 ขา(ดูเรื่อง IO เพิ่มเติมได้ครับ) ตัวเจ้าไอโอนี้จะมีหน้าที่ในการควบคุมด้านต่างๆ หลายๆ อย่างตามที่เราได้เคยจัดทำบทความไปแล้ว(บทความย้อนหลัง) 

  • แต่เฉพาะในเรื่องควบคุมการชาร์จนั้น เจ้าไอโอ  จะตรวจสอบอ่านค่าในROM Batt นั้น แล้วมาดำเนินการว่าก้อนแบตมีกระแสอยู่ระดับใด มีการชาร์จไปรวมกี เต็มรอบการชาร์จแล้วหรือยัง  แล้วไอโอก็จะไปสั่งงานให้ IC Charg ทำการชาร์จ  เจ้าไอซีcharg นี้ ก็จะเป็นไอภาคไฟ ที่จะทำหน้าที่สร้างพลั้น (Pluse) ไปทำการชาร์จแบต  โดยหลักการชาร์จแบบที่เรียกว่า Curent charg คือชาร์จด้วยกระแส  ไม่ได้ชาร์จด้วยการใช้แรงดันไปทำการชาร์จ   และเจ้าไอโอคอนโทรลเลอร์ก็ยัง ตรวจจับตลอดเวลาว่า กระแสที่ชาร์จเข้าไปนั้นถึงระดับไหน  ตรวจจับอุณหภูมิความร้อนในก้อนแบตว่าสูงเกินพิกัดหรือไม่  และเมื่อมีการชาร์จกระแสเข้าแบตแพ็คเต็มแล้ว ก็จะทำการตัดการชาร์จ อย่างที่เราเห็นตามรูป  ก็จะทำให้ไม่มีกระแสไหลเข้าก้อนแบตแพ็คต่ออีก

วงจรชาร์จแบตในโน๊ตบุ๊คมีหน้าตาอย่างไร

  • วงจรชาร์จแบตในโน๊ตบุ๊คจะมีความแตกต่างกันไม่มากสำหรับหลายๆ รุ่น หลายยี่ห้อ  กล่าวคือ  จะมีไอซีควบคุมการชาร์จ และMosfet สองตัว รวมถึงมีเจ้า L หรือ Coil อีก หนึ่งตัว  ก็ครบแล้ว   ส่วนองค์ประกอบอื่นๆในการทำงานนั้น ก็ต้องอาศัยให้ IO controller เป็นตัวควบคุมทั้งหมด