- สวัสดีครับ เพื่อน? สำหรับวันนี้ผมได้นำวิธีการถอดคอนเด็นเซอร์(condenser) ที่ภาษาช่างเขาเรียกกันว่า C (ซี) ซึ่งอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ตัวนี้มีบทความและความสำคัญอย่างมากต่อภาคไฟ? หรือระบบไฟของคอมพิวเตอร์นะครับ? เนื่องจากคุณสมบัติของคอนเด็นเซอร์ จะทำหน้าที่ในการเก็บประจุ และ คายประจุไฟฟ้า? เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่ไปเลี้ยงวงจรมีความเรียบ นิ่ง? ไม่มีการรบกวน (Ripple) ออกไปรบกวนวงจร ทำให้วงจรเกิดความเสถียรในการทำงานอย่างมากครับ ในภาคไฟของคอมพิวเตอร์โดยรวมแล้ว จะมีคอนเด็นเซอร์อยู่หลายจุดด้วยกัน ทั้งด้านกราวด์ร้อน(ไฟสูง 310 โวลท์) และกราวเย็น (ไฟต่ำ 3.3,5,12 โวลท์) เป็นสเป็คแรงไฟของ Switching ของ? PC นะครับ? ส่วนของโน๊ตบุ๊ค จะอยู่ในอะแดปเตอร์ ซึ่งก็คือสวิทชิ่งเช่นกัน ที่ด้านกรวด์เย็นจะมีแรงไฟออกเลี้ยงวงจรประมาณ 18 – 20 โวลท์ 3 .5 แอมป์ ขึ้นไป ซึ่งจะเพียงพอต่อการเลี้ยงวงจรของโน๊ตบุ๊คครับ

- ในความที่คอนเด็นเซอร์ จะมีแผ่นเพทสองแผ่นที่อยู่ไม่ติดกัน? คุณสมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้า ที่ถูกเรียกเป็นฟารัด หรือเป็นความจุในการจัดเก็บประจุไฟฟ้านั้น ถ้าปริมาณความจุสูงๆ ก็จะสามารถเก็บกรองประจุไฟฟ้าได้มาก และทำให้ระดับแรงไฟนิ่งเรียบ กว่า ตัวที่มีค่าความจุต่ำ เช่น ค่า 1000 ไมโครฟารัด จะด้อยกว่า 3300 ไมโครฟารัด เป็นต้นนะครับ
อาการที่เกิดขึ้นโดยมีผลมาจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีอะไรบ้าง
- สำหรับในบทความนี้ ผมขอนำเรื่องทางพีซีมากล่าวเสริมหน่อยนะครับ เพราะจะดูได้เข้าใจมากขึ้น
อาการที่เกิดขึ้นนั้น มีมากมายครับ? บางครั้งเพื่อนๆอาจไม่คิดก็ได้ว่าเกิดจากอุปกรณ์ตัวนี้
อาการเมื่อใช้วินโดว์ไปสักพัก ก็เกิดการแฮ้งค์? เม้าส์ค้าง? ต้องรีเซ็ทเครื่องบ่อยมาก
อาการเมื่อกำลังเข้าไปอยู่ในวินโดว์ได้สักพัก? หรือกำลังใช้งานอยู่ ก็เกิดการ Restart เครื่องเอง หรือไม่ก็ระบบไฟปิดไปเอง? แล้ว ก็เปิดขึ้นมาเอง เหมือนถูกผีหลอก
อาการเมื่อกำลังบูทเข้าวินโดว์ ซึ่งในขณะที่โลโก้ของวินโดว์กำลังโชว์ อยู่ สักพัก ก็เกิดหน้าจอน้ำเงิน (blue screen)
อาการที่ไม่สามารถจะติดตั้งวินโดว์ได้ผ่าน นอกเหนือจากการที่ได้ตรวจเรื่องของ ความร้อน การโอเวอร์คล๊อก เรื่องของแรม เรื่องของ VGA และอื่นๆ แล้ว? ก็อย่าลืมมองที่? Condenser ด้วยนะครับ
- คราวนี้มาถึงว่า เราจะสังเกตุยังไง? ก็ขอให้เพื่อนๆดูตามรูปและขั้นตอนที่ผมกำลังจะบอกต่อไปนี้นะครับ
ให้สังเกตุจากรูปนะครับว่า C เน่า C บวมมีหน้าตายังไง? คงขอใช้รูปเป็นตัวอธิบายนะครับ
- รูป ซี บวม และรูปใน power sv
เป็นยังไงครับเพื่อน พอนึกภาพออกไม๊ครับ อย่าไปมองว่า เว๊ปเกี่ยวกับโน๊ตบุ๊ค นั้นจะต้องมีเรื่องเกี่ยวกับโน๊ตบุ๊คอย่างเดียวนะครับ เรื่องที่เกี่ยวพันรอบข้างก็มี สามารถนำมาปรับประยุกต์ให้ใช้งานได้ เป็นแนวทางในการปฏิบัติทางเชิงช่างด้านฮาร์ดแวร์ต่อไปครับ? ส่วนเรื่องของการที่จะถอดซีนั้น ผมจะนำไปเขียนในบทความต่อไปนะครับ
เรียนวิธีการใช้เครื่องยก วาง รีบอล ชิพ BGA และเทคนิคใช้ความร้อนที่ทำให้การวางชิพผ่านทุกตัวได้
ขอบคุณน้องอาร์ม 341/277 สุขุมมวิท 101/1 แขวง บางจาก เขต พระโขนง กทม ที่ให้ความไว้วางใจและเดินทางมาเรียนกับเราที่ repair-notebook.com ตั้งแต่ 10มี.คต 2560
01/03/2560 น้องไป๊ ร้านโปไวเดอร์ สำนังานมหาชัย ให้ความไว้วางใจไปเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คกับ repair-notebook.com ที่กระทุ่มแบน สมุทรสาคร
June 20th, 2009 at 10:17 pm
[…] สำหรับการสังเกตุกรณีซีบวมในบทความ วิธีการถอดเปลี่ยนวี ตอนที่ 1 […]
September 7th, 2009 at 6:26 pm
ขอบคุณคับ
March 3rd, 2011 at 11:36 pm
Good work:) Thanks for this article
August 2nd, 2011 at 1:20 pm
Took me time to read all of the comments, but I really loved the article. It proved to be very useful to me and I am positive to all the commenters right here! It is always good when you can?t solely be informed, but additionally engaged! I am sure you had pleasure writing this article. Anyway, in my language, there aren?t a lot good supply like this.
January 15th, 2012 at 4:16 pm
ได้ความรู้ใหม่เพียบเลย