Archive for the ‘อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์’ Category

NEC Tokin คืออะไร

รูปร่างหน้าตาแบบนี้  ช่างใหม่ทั้งหลายคงยังไม่เคยรู้จักสินะครับ   ดังที่ผมได้เคยกล่าวไว้ในหลายๆ บทความเกี่ยวกับการที่เราจะหันเหชีวิตมาเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค ก็จะต้องรับรู้กับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายๆตัวที่ใช้กันอยู่ประจำ และหลายๆตัวที่ออกมาใหม่ในตลาด NEC TOKIN ถูกพูดถึงกันมากในตอนนี้สำหรับการซ่อมโน๊ตบุ๊คของโตชิบา (Toshiba)ในหลายๆ รุ่น ที่เป็นอาการประเภทจัดว่าเป็น bug ของเครื่อง NEC TOKIN คืออะไร ตอบกันตรงๆ เลยนะ NEC  TOKIN ก็คือบริษัทผู้ผลิต อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายๆชนิด และรวมถึงเจ้า Capacitor ที่เรากำลังพูดถึงในบทความนี้ด้วยนะครับ ดูได้ที่เว๊ปของเขาเลยครับที่http://www.nec-tokin.co.th หรือ http://www.nec-tokin.com/english ที่มาของภาพ  http://www.nec-tokin.com/english/ Capacitor ที่ผลิตโดย NEC  TOKIN มีชนิดไหนบ้าง ? ชนิด Tantalum Capacitor ชนิด Super Capacitor และ ชนิด Proadlizer Capacitor

Leave a Comment

ฟิวส์ (Fuse) ในคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค

ฟิวส์ (fuse) เป็นอุปกรณ์นิรภัยชนิดหนึ่งที่อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าโดย จะป้องกันการลัดวงจร และการใช้กระแสเกินในวงจรไฟฟ้า โดยจะหลอมละลาย และตัดกระแสไฟออกจากวงจรเพื่อป้องการอุปกรณ์เสียหาย โดยฟิวล์จะเป็นเส้นลวดเล็ก ๆ ทำจากตะกั่วผสมดีบุก มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ มีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน ฟิวส์สนวงจร? จะต่อแบบอนุกรมเพื่อให้กระแสไฟไหลผ่านตัวของฟิวส์ได้โดยต้องไม่เกินความสามารถในตัวฟิวส์นั้นๆ เช่น ในวงจรภาคไฟ ต้องการให้กระแสไหลไม่เกิน 5 แอมเปร์ ก็เลือกใช้ฟิวส์ที่สามารถทนกระแสได้ 5 Amp เป็นต้น?? หากว่าในวงจรมีการดึงกระแสไปใช้มากกว่าที่ตัวฟิวส์จสะทนได้? ฟิวส์ในวงจรก็จะขาด? นั่นย่อมส่งผลให้วงจรที่ต่อหลังฟิวส์ไม่สามารถทำงานได้นั่นเองครับ การตรวจเช็ค การตรวจเช็คดูว่า ฟิวส์ขาดหรือไม่ขาดนั้น ให้ทำในขณะที่เครื่องไม่ได้ถูกเสียบด้วยอะแดปเตอร์ หรือ แบตเตอรี่อยู่นะครับ?? จากนั้น ตั้งมิเตอร์ไปที่ Rx1 วัดระหว่างหัวและท้ายของตัวฟิวห์นั้นๆ? หากไม่ขึ้น? นั่นแสดงว่าฟิวส์ขาดนะครั? ให้เพื่อนๆหามาเปลี่ยโดยสเป็คต้องไม่ตำ และหรือสูงเกินกว่าเดิมมากจนเกินไปครับ? หากตรวจเช็คได้เช่นนี้ เพือนๆก็จะสามารถซ่อมเครื่องในอาการไฟไม่จ่ายได้แล้วนะครับ

Comments (2)

BIOS ตัวถังแบบต่างๆ

สวัสดีครับ วันนี้ ขอนำภาพตัวถังของ IC Memory ที่เราเรียกกันว่า EEPROM มาให้ดูรูปแบบตัวถังกันนะครับ ว่ามันมีหลายลักษณะด้วยกัน เวลาเพื่อนๆ เห็นมันในวงจรอิเล็คทรอนิคส์ เราจะได้เรียกมันถูกว่าเป็นแบบตัวถังแบบใด นะครับ คงไม่ขอพูดอะไรมากกว่านี้ เอาเป็นรูปนำเสนอ ก็น่าจะ OK แล้วหละครับ มีอะไรสงสัยก็เมล์สอบถามได้นะครับ

Comments (3)

สอนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค**วิธีการดูตำแหน่งขาเริ่มต้นของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์**

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับบทความในวันนี้ ผมขอนำวิธีการสังเกตุตำแหน่งของ IC Chip มาแนะนำกันนะครับ เพราะว่า แม้กระทั่งผมทำอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้ทุกๆวัน ก็ยังมีพลาดๆ หลงๆ(อาจอายุมากแล้วก็ได้นะ) ก็เลยคิดหัวข้อนี้มาแนะนำเพื่อนๆน้องใหม่ๆกัน(น้องเก่าๆเก่งกันแล้ว) ทำไมต้องนำมาพูดกัน ก็เพราะว่า ความเข้าใจและความคุ้นเคยของเพื่อนๆช่างน้องใหม่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการที่จะบอกได้ว่า จะต้องวางชิพอย่างไรให้ถูกมุมในตำแหน่งขาเริ่มต้น? ทั้งตัวของชิพและที่เมนบอร์ด? ซึ่งในส่วนผมแล้ว ก็เลยพยายามหารูปของชิพทีี่อยู่บนบอร์ดให้ได้มากที่สุด มาแนะนำกันไงครับ จากรูปในตำแหน่ง กรอบสี่เลี่ยมสีแดงเล็ก จะเป็นตำแหน่งขาเริ่มต้นของ Chip เมนบอร์ด? วางให้ตรงตำแหน่งนะครับจะได้ไม่พลาด

Leave a Comment

Clock Generator ตัวไอซีกำหนดสัญญาณนาฬิกา

สวัสดีครับเพื่อนๆ บทความงวดนี้ ผมนำเรื่อง IC Clock generator มาแนะนำให้รู้จักกันนะครับว่ามันคืออะไร? มีบทบาทอย่างไรบนเมนบอร์ดกันครับ?? เริ่มต้น ต้องให้เพื่อนๆ รู้จักรูปหน้าตาของเจ้าไอซีตัวนี้กันก่อนครับ ว่าเราจะสังเกตุได้อย่างไรว่ามันเป็น? IC Clock gen การสังเกตุหา Clock Generator IC Clock Gen นี้ เพื่อนๆจะหามันได้บนเมนบอร์ดทั้งพีซี และโน๊ตบุ๊ค? โดยสังเกตุจากในรูปนะครับว่าจะมีอุปกรณ์อยู่ 2 ตัว? ซึ่งได้แก่ ตัวที่อยู่ด้านบนนะครับเป็น Cystal ที่ความถี่ 14.3 MHz และจากนั้นจะมีไอซี? 64 ขา อยู่ข้างๆ? นั่นแหละครับเป็น IC Clock gen ที่เราต้องการหานั่นเอง? ยี่ห้อส่วนใหญ่ จะเป็นยี่ห้อ ICS , ยี่ห้อของ Realtek ก็มีนะครับเป็นเบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย RTMxxx

Comments (6)

จะเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค เพื่อนๆรู้จักอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ดีแล้วหรือยัง ?

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับบทความวันนี้ ผมได้รวบรวมชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์(component) ชิ้นเล็กๆ หลายๆตัวที่อยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค มาแนะนำกับเพื่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นที่เิริ่มเข้ามาเยี่ยมเยี่ยมและกำลังจะค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อประกอบความรู้ สำหรับก้าวไปเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คแบบเจาะลึก นะครับ? ส่วนเพื่อนๆช่างอิเล็คทรอนิคส์มืออาชีพที่แวะเข้ามา? ก็ช่วยเพิ่มเติมเนื้อหา และความรู้ให้กับเพื่อนๆท่านอื่นด้วยนะครับ เขียน comment ไว้เลยครับ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่อยู่ในรูปที่ผมนำมาโชว์นี้ ผมได้เก็บมาเรียงแล้วถ่ายภาพให้ดูกัน? แต่ก็ยังไม่ครบทุกชิ้นหรอกนะครับ? อะไรเป็นอะไรนั้น? เพื่อนๆต้องไปอ่านในหัวข้อการเรียนรู้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ ในบทความที่ผมได้เขียนไว้ด้วยนะครับ? เพราะตรงนั้นจะแบ่งกลุ่มเป็นหมวดหมู่ว่า อุปกรณ์อิเล็คฯชิ้นไหนที่เพื่อนๆควรต้องรู้จัก? เพื่อจะได้ตอบได้ว่าบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คนั้น ตรงนั้นๆ เป็นตัวอะไร? มีหน้าที่อย่างไร? และมันจะดี จะเสียหรือเปล่า

Comments (8)

ไดโอด (Diode)

สวัสดีครับเพื่อนๆ? สำหรับในวันนี้ผมได้นำความรู้ของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเล็กๆที่มีความสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง? ที่มีบทบาทในการทำงานต่อวงจรอิเล็คทรอนิคส์อย่างมากเช่นกัน? และเป็นต้นฉบับในการนำมาสร้างเป็นสร้างกึ่งตัวนำประเภทต่างๆ เช่นทรานซิสเตอร์ แบบต่างๆ เป็นต้น ไดโอด(Diode) ถือเป็นอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่จำกัดทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า มันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม ดังนั้นจึงอาจถือว่าไดโอดเป็นวาล์วตรวจสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใช้เป็นเรียงกระแสไฟฟ้าในวงจรภาคจ่ายไฟ เป็นต้น ไดโอดตัวแรกเป็นอุปกรณ์หลอดสูญญากาศ (vacuum tube หรือ valves) แต่ทุกวันนี้ไดโอดที่ใช้ทั่วไปส่วนใหญ่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน หรือ เจอร์เมเนียม ไดโอดเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ p-n สามารถควบคุมให้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกไหลผ่านตัวมันได้ทิศทางเดียว ไดโอดประกอบด้วยขั้ว 2 ขั้ว คือ แอโนด (Anode; A) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด p และ แคโธด (Cathode; K) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด n ประเภทของไดโอด ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode) ซี เนอร์ไดโอดเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่นำกระแสได้เมื่อได้รับไบอัสกลับ และระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานได้เรียกว่า ระดับแรงดันพังทลายซีเนอร์ (Zener Breakdown […]

Leave a Comment

SMD อิเล็คทรอนิคส์ขนาดเล็ก (Surface Mount Device)

สวัสดีครับเพื่อนๆ? สำหรับในวันนี้ผมได้นำเรื่องของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นจิ๋ว ที่อยู่บนชิ้นงานอิเล็คทรอนิคส์ในปัจจุบัน มาแนะนำ ความรู้ตรงนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่านทำความเข้าใจกัน เพราะในการซ่อมโน๊ตบุ๊คนั้น อุปกรณ์เหล่านี้จัดเป็นสาระสำคัญบนแผ่นวงจรอย่างมากนะครับ SMD ย่อมาจาก Surface Mount Device หมายถึงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาดเล็ก เวลาจะนำไปใช้จะไม่มีขาที่จะเสียบลงไปในรูของแผ่นวงจร? แต่จะใช้การวางบนลงแผ่นวงจร ซึ่งมีตำแหน่งของตะกั่วรอรับไว้แล้ว และใช้เครื่องเป่าลมร้อน หรือ หัวแร้ง หรือเครื่องกลทางอุตสาหกรรมในการเชื่อมต่อขาเข้ากลับวงจร SMT ย่อมาจาก Surface Mount Technology ซึ่งหมายถึงเทคนิคการยึดอุปกรณ์บนผิว

Comments (4)

เรียนเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ตอน Crystal(แร่ผลึกคริสตัล)บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คคืออะไร ทำหน้าที่อะไร

สวัสดีครับเพื่อนๆที่น่ารักทุกๆท่านสำหรับบทความครั้งนี้ผมขอนำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเล็กบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค หรือบนพีซี ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของอุปกรณ์ชิ้นใหญ่ๆ หลายๆส่วนในเมนบอร์ดเลยก็ว่าได้นะครับ อุปกรณ์ชิ้นนี้มีชื่อเรียกว่า crystal หรือ คริสดัล ในบอร์ดโน๊ตบุ๊คอาจหาเจอได้ ?

Comments (2)

Crystal (แร่ผลึกคริสตัล)

สวัสดีครับเพื่อนๆที่น่ารักทุกๆท่าน? สำหรับบทความครั้งนี้ผมขอนำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเล็กบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค หรือบนพีซี ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของอุปกรณ์ชิ้นใหญ่ๆ หลายๆส่วนในเมนบอร์ดเลยก็ว่าได้นะครับ? อุปกรณ์ชิ้นนี้มีชื่อเรียกว่า crystal หรือ คริสดัล ?

Comments (2)

ตัวต้านทาน ที่ใช้ในโน๊ตบุ๊ค (Resistor)

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในวันนี้ ผมจะขอนำไปรู้จักอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเ็ล็กๆที่ใช้ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค และวงจรอิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ นะครับ? ชิ้นอุปกรณ์นี้ถูกเรียกแบบไทยๆ ว่า ตัวต้านทาน หรือชื่อที่เรียกอย่างเป็นทางการก็คือ? Resistor ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่ใช้ในวงจร เพื่อทำการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า เพื่อให้ลดแทอนแรงเคลื่อน และกระแสไฟในวงจรได้นะครับ   ชนิดของตัวต้านทาน   ตัวต้านทานชนิดต่าง ๆ อาจจำแนกชนิดของตัวต้านทานได้หลายวิธี อาทิ แบ่งตามความสามารถในการปรับค่า จำแนกได้ออกเป็น ตัวต้านทานที่มีค่าคงที่ ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ (อาจจำแนกย่อยลงไปอีกว่า ปรับค่าได้โดยผู้ปรับ หรือ ปรับค่าได้ตามแสงสว่าง อุณหภูมิ ฯลฯ) แบ่งตามชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ผลิตตัวต้านทาน เช่น ตัวต้านทานประเภทเซรามิก

Comments (3)

ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ในโน๊ตบุ๊ค (Capacitor)

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในเดือนสิงหาคมนี้ ผมพยายามจะเขียนบทความเกี่ยวชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค เพื่อเพื่อนๆ จะได้รู้จักและทราบวิธีการตรวจวัด หรือแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องนะครับ ตัวเก็บประจุทางไฟฟ้า ตัวเก็บประจุทางไฟฟ้า หรือ คาปาซิเตอร์ (Capacitor) หรือ คอนเดนเซอร์ (Condenser) แต่มักจะถูกเรียกแบบสั้นๆ ว่า ซี (C) เป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบกันมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า (Charge) และคายประจุไฟฟ้า (Discharge) ถ้าเป็นทางระบบไฟฟ้าแล้วละก้อ ตัวเก็บประจุจะทำหน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าเรียบ ไม่มี Ribble ไปรบกวนในวงจรทางไฟฟ้า? ทำให้วงจรทางไฟฟ้ามีความเสถียรในการทำงานอย่างมากนะครับ โครงสร้างของตัวเก็บประจุ ตัวเก็บประจุ มีคุณสมบัติทางประจุไฟฟ้า เกิดขึ้นได้จากการนำแผ่นโลหะ หรือ แผ่นสารตัวนำสองแผ่นวางอยู่ใกล้ ๆ กันแต่ไม่แตะถึงกัน โดยมีแผ่นไดอิเล็กตริกซึ่งมีลักษณะเป็นฉนวนกั้นอยู่ระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง ค่าความจุที่ได้จะขึ้นอยู่กับ พื้นที่ของแผ่นตัวนำและ ระยะห่างระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง ค่าความจุของตัวเก็บประจุ มีหน่วยเรียกเป็น ฟารัด (Farad) ไมโครฟารัด (m F) นาโนฟารัด (nF) ฟิกโกฟารัด (pF)  

Comments (4)

ทรานซิสเตอร์ (Transistor)

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในวันนี้ ผมพยายามที่จะนำบทความที่เกี่ยวชิ้นงานอิเล็คทรอนิคส์เข้ามาเสริมให้มาก ๆ เพื่อจะได้เ้ข้าสู่การเรียนรู้ทางด้านการซ่อมโน๊ตบุ๊คที่ผมตั้งใจจะให้เพื่อนๆ ได้รับความรู้กัน อย่างที่ได้ตั้งปณิธานไว้ครับ?? และสำหรับวันนี้เป็นเรื่องของ Transistor) ทรานซิสเตอร์แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ (Bipolar Junction Transistor, BJTs)?และทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้า (Field Effect Transistors,FETs) ทรานซิสเตอร์จะมีขาเชื่อมต่อสามจุด อธิบายโดยย่อคือเมื่อมีการปรับเพิ่มแรงดันไฟฟ้าที่ขาหนึ่งจะส่งผลให้ความนำ ไฟฟ้าระหว่างขาที่เหลือสูงขึ้นอันทำให้สามารถควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าได้ อย่างไรก็ตามหลักทางฟิสิกส์ในการทำงานของทรานซิสเตอร์ทั้งสองแบบ(ชนิดรอยต่อ คู่และชนิดสนามไฟฟ้า)มีความแตกต่างกันอยู่มาก ใน วงจรอนาถ ลอก นั้นทรานซิสเตอร์จะถูกใช้ขยายสัญญาณต่างๆ เช่น สัญญาณเสียง สัญญาณความถี่วิทยุ หรือควบคุมระดับแรงดัน รวมทั้งเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบสวิชชิ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ทราสซิสเตอร์ก็ยังถูกใช้ในวงจรดิจิทัล เพียงแต่ใช้งานในลักษณะการเปิด/ปิดเท่านั้น วงจรดิจิทัลเหล่านั้นได้แก่ วงจรตรรกะ (Logic gate), หน่วยความจำแบบสุ่ม (Random Access Memory, RAM) และไมโครโพรเซสเซอร์ เป็นต้น ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ (Bipolar junction transistor) ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ (BJT) เป็นทรานซิสเตอร์ชนิดหนึ่ง มันเป็นอุปกรณ์สามขั้วต่อถูกสร้างขึ้นโดยวัสดุสารกึ่งตัวนำที่มีการเจือสาร และอาจจะมีการใช้ในการขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สวิทชิ่ง […]

Comments Off on ทรานซิสเตอร์ (Transistor)

มอสเฟส (Mosfet Transistor)

สวัสดีครับเืพื่อนๆ สำหรับในวันนี้ผมได้ทำบทความเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่มีใช้อยู่ใน Parts ของโน๊ตบุ๊คครับ เป็นชิ้นอุปกรณ์เล็ก (Component) ที่มีความสำคัญชิ้นหนึ่งครับ เพื่อนๆ ที่เป็นนักอิเล็คทรอนิคส์ก็คงจะรู้จักกันดี? แต่เพื่อนๆ อีกหลายท่านที่ยังไม่รู้จัก? หากได้อ่านบทความนี้จบ? ก็คงจะได้เข้าใจดีขึ้นนะครับ ทรานซิสเตอร์แบบมอสเฟต( metal?oxide?semiconductor field-effect transistor MOSFET) เป็นทรานซิสเตอร์ ที่ใช้อิทธิพลสนามไฟฟ้าในการควบคุมสัญญาณไฟฟ้า โดยใช้ออกไซด์ของโลหะในการทำส่วน GATE นิยมใช้ในวงจรดิจิตอล โดยนำไปสร้างลอจิกเกตต่างๆเพราะมีขนาดเล็ก MOSFET ประกอบด้วยสามส่วน คือ GATE เป็นส่วนที่ทำมาจากออกไซด์ของโลหะ โดยสร้างให้เกิดความต่างศักย์ตกคร่อมระหว่างแผ่นสองแผ่นเพื่อ สร้างสนามไฟฟ้าเพื่อควบคุมการเข้าออกของสัญญาณไฟฟ้า SORCE เป็นส่วนขาเข้าของสัญญาณ DRAIN เป็นส่วนขาออกของสัญญาณ

Comments (19)