Posts Tagged ‘ตัวเก็บประจุ’

NEC Tokin คืออะไร

รูปร่างหน้าตาแบบนี้  ช่างใหม่ทั้งหลายคงยังไม่เคยรู้จักสินะครับ   ดังที่ผมได้เคยกล่าวไว้ในหลายๆ บทความเกี่ยวกับการที่เราจะหันเหชีวิตมาเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค ก็จะต้องรับรู้กับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายๆตัวที่ใช้กันอยู่ประจำ และหลายๆตัวที่ออกมาใหม่ในตลาด NEC TOKIN ถูกพูดถึงกันมากในตอนนี้สำหรับการซ่อมโน๊ตบุ๊คของโตชิบา (Toshiba)ในหลายๆ รุ่น ที่เป็นอาการประเภทจัดว่าเป็น bug ของเครื่อง NEC TOKIN คืออะไร ตอบกันตรงๆ เลยนะ NEC  TOKIN ก็คือบริษัทผู้ผลิต อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายๆชนิด และรวมถึงเจ้า Capacitor ที่เรากำลังพูดถึงในบทความนี้ด้วยนะครับ ดูได้ที่เว๊ปของเขาเลยครับที่http://www.nec-tokin.co.th หรือ http://www.nec-tokin.com/english ที่มาของภาพ  http://www.nec-tokin.com/english/ Capacitor ที่ผลิตโดย NEC  TOKIN มีชนิดไหนบ้าง ? ชนิด Tantalum Capacitor ชนิด Super Capacitor และ ชนิด Proadlizer Capacitor

Leave a Comment

ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ในโน๊ตบุ๊ค (Capacitor)

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในเดือนสิงหาคมนี้ ผมพยายามจะเขียนบทความเกี่ยวชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค เพื่อเพื่อนๆ จะได้รู้จักและทราบวิธีการตรวจวัด หรือแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องนะครับ ตัวเก็บประจุทางไฟฟ้า ตัวเก็บประจุทางไฟฟ้า หรือ คาปาซิเตอร์ (Capacitor) หรือ คอนเดนเซอร์ (Condenser) แต่มักจะถูกเรียกแบบสั้นๆ ว่า ซี (C) เป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบกันมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า (Charge) และคายประจุไฟฟ้า (Discharge) ถ้าเป็นทางระบบไฟฟ้าแล้วละก้อ ตัวเก็บประจุจะทำหน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าเรียบ ไม่มี Ribble ไปรบกวนในวงจรทางไฟฟ้า? ทำให้วงจรทางไฟฟ้ามีความเสถียรในการทำงานอย่างมากนะครับ โครงสร้างของตัวเก็บประจุ ตัวเก็บประจุ มีคุณสมบัติทางประจุไฟฟ้า เกิดขึ้นได้จากการนำแผ่นโลหะ หรือ แผ่นสารตัวนำสองแผ่นวางอยู่ใกล้ ๆ กันแต่ไม่แตะถึงกัน โดยมีแผ่นไดอิเล็กตริกซึ่งมีลักษณะเป็นฉนวนกั้นอยู่ระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง ค่าความจุที่ได้จะขึ้นอยู่กับ พื้นที่ของแผ่นตัวนำและ ระยะห่างระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง ค่าความจุของตัวเก็บประจุ มีหน่วยเรียกเป็น ฟารัด (Farad) ไมโครฟารัด (m F) นาโนฟารัด (nF) ฟิกโกฟารัด (pF)  

Comments (4)