เรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : แนวคิดการแยกชุดไฟออกจากโหลดเพื่อซ่อมเฉพาะวงจรนั้นๆ
สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก repair-notebook.com ทุกท่าน ในบทความนี้จะกล่าวถึงแนวคิดวิธีการออกแบบและแก้ปัญหาการที่ภาคไฟไม่ทำงาน โดยมีแนวหลักทฤษฎีของวงจรระบบไฟที่มีเฟทและคอลย์มาต่อเป็นวงจร DC To DC Converter โดยใช้ความถี่ในการคอนโทรลขา gate ของ mosfet ที่ต่ออนุกรมกันสองตัวลงกราวด์ ตัดแยกชุดไฟเพื่ออะไร ในการซ่อมภาคไฟ ถ้าเราคิดว่าการทำงานของชุดไฟที่ต่อให้กับโหลดในเวลานั้นมันอาจมีตัวรั่ว ตัวช้อตอยู่ในฝั่งใดฝั่งนึง ก็จึงต้องทำการตัดแยกระหว่างชุดไฟกับโหลดออกจากกันนั่นเอง เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าเป็นที่ชุดไฟหรือฝั่งโหลดนั่งเองครับ แนวความคิดทางทฤษฎี เพื่อให้ระบบไฟทำงานได้คบวงจร ก็จะต้องยกขาของคอลย์(L) ขึ้นหนึ่งฝั่ง(ฝั่งที่ไม่ได้ต่อกับFet จากนั้น ให้ต่อด้วยคอนเด็นเซอร์(C) 330 uF 6.3 V. ลงกราวด์ ก็จะเป็นการตัดแยกวงจรระหว่างภาคไฟกับโหลด(Load) แล้ว และผู้ซ่อมถึงจะต้องทำการทดสอบการทำงานของไอซีภาคไฟของชุดไฟที่ตัดยกคอลย์นี้อีกทีว่า ไอซี สามารถสร้าง Pulse ให้แก่มอสเฟสได้หรือไม่ ถ้าได้ ก็แสดงว่าไอซีไม่เสีย แต่ถ้าได้ป้อนไฟเข้าขา Entrip (Enable)แล้ว ไอซียังทำงานไม่ได้ ในเบื้องต้นให้ทดลองเปลี่ยนไอซี PWM ดูก่อน(แนะนำว่าควรใช้เบอร์ตรงตามตัวเดิมจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาและซ่อมที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ไม่ควรใช้เบอร์แทน(ถ้าไม่มีความชำนาญมากพอ) สำหรับผู้สนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คกับ repair-notebook.com สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง เช่น line ID repairnotebook หรือเข้าเยี่ยมชมเราทางเฟสบุ๊คที่ https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH/